ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบกับใบกำกับภาษีแบบย่อ แตกต่างกันอย่างไร ?

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบกับใบกำกับภาษีแบบย่อ แตกต่างกันอย่างไร ?


ใบกำกับภาษี คืออะไร ?
          ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการเมื่อได้ทำขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ จากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้ง ซึ่ง ผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษีได้เพียงครั้งเดียวในวันที่ทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ


รายละเอียดใบกำกับภาษีฉบับเต็ม
         
มาตรา 86/4 ภายใต้บังคับมาตรา 86/5 และมาตรา 86/6 ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
          1.คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
          2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
          3.ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
          4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี
          5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
          6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
          7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
          8.ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด


รายละเอียดใบกำกับภาษีแบบย่อ
          ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้
          1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
          2. ชื่อหรือชื่อย่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
          3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี
          4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
          5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการโดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
          6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
          7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ใบกำกับภาษีถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพื่่อลดความผิดพลาดด้านบัญชีและภาษีในอนาคต
โปรแกรมบัญชีออนไลน์ Prosoft ibiz สามารถออกใบกำกับภาษีทั้งในรูปแบบฉบับเต็ม และฉบับย่อ เพื่ออรองรับการใช้งานของผู้ใช้ที่หลายหลายประเภท

ขอขอบคุณที่มาของบทความ :
กรมสรรพากร

 7718
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์