ภาษี

11 รายการ
กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อของกิจการ ที่ถูกผู้ประกอบการรายอื่นเรียกเก็บในการซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละเดือนภาษี ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนใด ก็ให้เป็นภาษีซื้อในเดือนนั้น  โดยสามารถลงรายงานภาษีซื้อได้เฉพาะรายการซื้อที่มีหลักฐานใบกำกับภาษี หรือใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้
ปัจจุบันธุรกิจสตาร์ทอัพ ไทยมีความน่าสนใจและเตะตานักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ นับเป็นช่วงที่โอกาสอยู่ไม่ไกลเหมือนในอดีต แถมช่วงนี้มีนักลงทุนรายย่อยกลุ่มหนึ่งที่ให้การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพหน้าใหม่ให้สามารถสานฝันต่อได้ โดยนักลงทุนกลุ่มนี้มีความกล้าที่จะควักเงินส่วนตัวเพื่อลงทุนในธุรกิจ สตาร์ทอัพ ซึ่งเรียกนักลงทุนกลุ่มนี้ว่า Angel Investor ซึ่งอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดาที่เปรียบเสมือน ‘นางฟ้า’ของสตาร์ทอัพ แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่ทราบหรือไม่ว่า Angel Investor ที่ลงทุนสตาร์ทอัพสามารถลดหย่อนภาษีได้ปีละแสน !!!

แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือ บริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆ ออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรื่องภาษีเป็นเรื่องซับซ้อน บางทีเป็นแค่พนักงานกินเงินเดือนแล้วมีรายได้เสริมนิดหน่อย เวลาจะต้องยื่นภาษีนี่ก็เป็นงานที่หนักแล้ว ถ้าเป็นนิติบุคคลก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่ามันจะยิ่งซับซ้อนเข้าไปอีก

การทำงบการเงินคือสิ่งที่บริษัทควรจะทำพื้นฐาน เพื่อจะได้ทำการวิเคราะห์ผลการดำเนินการของธุรกิจ รวมถึงโอกาสในการขอสินเชื่อไปจนถึงโอกาสการระดมทุนเพิ่มให้กับบริษัท นี่เป็นสิ่งที่บริษัทค่อนข้างจะมีอิสระในการทำ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพของธุรกิจจากมุมมองของบริษัทเอง อย่างไรก็ดี ในอีกแง่มุมหนึ่ง การทำงบการเงินสำหรับการยื่นภาษีก็เป็นสิ่งสำคัญ และมันก็เป็นงบการเงินแบบที่มีข้อกำหนดตามกฎหมายภาษีอย่างชัดเจน

การทำธุรกิจนั้นมีทั้งปัญหาบัญชีและภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญและจัดการอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีกฎหมายและข้อกำหนดทางภาษีที่ซับซ้อน ปัญหาที่พบบ่อยๆ ได้แก่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์