เรื่องภาษีน่ารู้กับการลงทุนสตาร์ทอัพ

เรื่องภาษีน่ารู้กับการลงทุนสตาร์ทอัพ

ปัจจุบันธุรกิจสตาร์ทอัพ ไทยมีความน่าสนใจและเตะตานักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ นับเป็นช่วงที่โอกาสอยู่ไม่ไกลเหมือนในอดีต แถมช่วงนี้มีนักลงทุนรายย่อยกลุ่มหนึ่งที่ให้การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพหน้าใหม่ให้สามารถสานฝันต่อได้ โดยนักลงทุนกลุ่มนี้มีความกล้าที่จะควักเงินส่วนตัวเพื่อลงทุนในธุรกิจ สตาร์ทอัพ ซึ่งเรียกนักลงทุนกลุ่มนี้ว่า Angel Investor ซึ่งอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดาที่เปรียบเสมือน ‘นางฟ้า’ของสตาร์ทอัพ

แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่ทราบหรือไม่ว่า Angel Investor ที่ลงทุนสตาร์ทอัพสามารถลดหย่อนภาษีได้ปีละแสน !!!

ทั้งนี้จากระเบียบของกรมสรรพากร ที่กำหนดให้ Angel Investor หรือกลุ่มนักลงทุนรายอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุน ที่ลงทุนในหุ้นสตาร์ทอัพ สามารถลดหย่อนภาษีสูงสุด 1 แสนบาท/ปี ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 337 (พ.ศ.2561) โดยจะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไข ดังนี้

1.ลงทุนในหุ้นเพื่อจัดตั้งหรือเพิ่มทุนในสตาร์ทอัพ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2562

2.ถือหุ้นที่ลงทุนนั้นไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกันนับแต่วันที่ลงทุน

3.ลงทุนในหุ้นสตาร์ทอัพ ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีคุณสมบัติดังนี้

  - จดทะเบียนจัดตั้งตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2562

  -  มีทุนชําระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จาการขายสินค้าไม่เกิน 30 ล้านบาท

โดยเงือนไขต้องประกอบอุตสาหกรรม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ได้แก่

- อาหารและการเกษตร

- ประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด

- ฐานเทคโนโลยี ชีวภาพ

- การแพทย์และสาธารณสุข

- การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

- วัสดุก้าวหน้า

- สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ

- ยานยนต์และชิ้นส่วน

- อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ

- ฐานการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมหรืออุตสาหกรรมใหม่

4.มีรายได้จากอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือรายได้เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด

ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพก็ได้ลดด้วย

สำหรับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ก็ได้รับการลดหย่อนภาษีเช่นกัน จากนโยบายของรัฐฯเพื่อสนับสนุนโอกาสในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี จากกรมสรรพากร มีขั้นตอนดังนี้

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับสตาร์ทอัพ มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา โดยยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามเงื่อนไข เวลาที่กฎหมายกําหนด

ต้องมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท บริษัทฯ ต้องประกอบกิจการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผ่านการรับรองจาก สวทช. โดยสามารถยื่นคําร้องขออนุมัติสิทธิประโยชน์ทางภาษี กับกรมสรรพากรได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562

เรื่องเงินๆ ทองๆ และภาษี เป็นสิ่งที่สตาร์ทอัพไม่ควรพลาด

อ้างอิง : กรมสรรพากร 

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/tax-startup

 1754
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์