ทดลองใช้งานฟรี
การทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม ย่อมมุ่งหวังการสร้างผลตอบแทนจากเงินลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นความรู้เรื่องวิธีบริหารเงินของเจ้าของธุรกิจย่อมเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ เรามาดูกันว่า ความรู้ทางการเงินที่จำเป็นได้แก่อะไรบ้าง และเราจะหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากที่ใด
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 กรมสรรพากรออกประกาศกำหนดให้รายได้จากต่างประเทศ ที่เกิดจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หรือตราสารหนี้ต่างประเทศ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากส่วนต่างราคา เงินปันผล รายได้จากดอกเบี้ย จะถูกนำมาคำนวณภาษีเงินได้ในแต่ละปี
ทุกคนทราบไหมว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริงๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิดๆ หน่อยๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ทางเลือกหนึ่งของแหล่งเงินทุนในธุรกิจ คือ การขอสินเชื่อจากธนาคาร และเมื่อได้เบิกรับเงินกู้มาแล้ว ลำดับต่อมาเป็นเรื่องของการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งหลายๆ ธุรกิจมองภาระการผ่อนในแต่ละเดือนว่าเป็นค่าใช้จ่ายประจำอย่างหนึ่ง คล้ายกับเงินเดือน ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่จะต้องจ่ายทุกเดือน ดังนั้น เพื่อต้นทุนการเงินของแหล่งเงินทุนถูกประเมินอย่างถูกต้อง และราบรื่น ไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจจะมีแนวทางในการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
หลายๆ คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs ทั้งหลาย มักจะเกิดความสงสัยว่า จะทำธุรกิจอย่างไรถึงจะประหยัดภาษีได้มากที่สุด แถมยังไม่รู้ว่าจะใช้เทคนิคไหนดีเพื่อวางแผนภาษีให้ถูกต้อง ครั้นจะวางแผนง่ายๆ ให้ถูกใจตัวเองด้วยการจ่ายภาษีน้อยๆ ก็กลัวว่าจะกลายเป็นเรียกให้สรรพากรมาหาถึงออฟฟิศเสียได้
กฎหมายภาษีที่ส่งผลกระทบต่องานบัญชีมีหลายประเภท และมีผลกระทบทั้งในด้านการบันทึกบัญชี การจัดทำงบการเงิน รวมถึงการยื่นภาษีให้เป็นไปตามกฎหมาย นี่คือลักษณะสำคัญของกฎหมายภาษีที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานบัญชี