รายการบทความที่ค้นหา

รายการบทความที่ค้นหา

1594 รายการ

การทำงบการเงินคือสิ่งที่บริษัทควรจะทำพื้นฐาน เพื่อจะได้ทำการวิเคราะห์ผลการดำเนินการของธุรกิจ รวมถึงโอกาสในการขอสินเชื่อไปจนถึงโอกาสการระดมทุนเพิ่มให้กับบริษัท นี่เป็นสิ่งที่บริษัทค่อนข้างจะมีอิสระในการทำ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพของธุรกิจจากมุมมองของบริษัทเอง อย่างไรก็ดี ในอีกแง่มุมหนึ่ง การทำงบการเงินสำหรับการยื่นภาษีก็เป็นสิ่งสำคัญ และมันก็เป็นงบการเงินแบบที่มีข้อกำหนดตามกฎหมายภาษีอย่างชัดเจน

หลายท่านอาจจะรู้สึกตกใจและไม่สบายใจ เมื่อได้รับจดหมายจากทางกรมสรรพากรกับการเข้ามาขอตรวจสอบไม่ว่าจะประเด็นอะไรก็ตาม บ้างก็ทำตัวไม่ถูกและมีความวิตกกังวลเลยด้วยซ้ำ แต่ทางที่ดีเราควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่า จดหมายที่ส่งมานั้นระบุความผิดในระดับใด เพราะในบางครั้งอาจจะเป็นการเข้ามาแนะนำข้อมูล เข้ามาตรวจสอบ ขอให้ชี้แจงบางประเด็นเท่านั้น หรือหากเป็นการแจ้งความผิดจริง ก็ควรตรวจสอบให้ดีว่ามีโทษอย่างไรกันแน่

หลักการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึกธุรกรรมทางการเงินในลักษณะที่ให้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และสมดุลระหว่าง เดบิต (Debit) และ เครดิต (Credit) โดยมีแนวคิดสำคัญว่า "ทุกธุรกรรมทางการเงินต้องมีผลกระทบต่อบัญชีอย่างน้อยสองบัญชี"
เป็นกระบวนการสำคัญที่ธุรกิจและองค์กรใช้ในการบันทึก ตรวจสอบ และสรุปรายงานทางการเงิน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้สำหรับการตัดสินใจในด้านต่างๆ ขององค์กร วงจรบัญชีประกอบด้วยขั้นตอนหลักที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละรอบบัญชี

เรื่องภาษีเป็นเรื่องซับซ้อน บางทีเป็นแค่พนักงานกินเงินเดือนแล้วมีรายได้เสริมนิดหน่อย เวลาจะต้องยื่นภาษีนี่ก็เป็นงานที่หนักแล้ว ถ้าเป็นนิติบุคคลก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่ามันจะยิ่งซับซ้อนเข้าไปอีก

เวลาพูดถึงงบการเงิน หลายๆ คนอาจเข้าใจว่ามันมีรายการเดียวคือ “งบดุล” แต่งบดุลเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงบการเงินมาตรฐานของธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น และเอาจริงๆ งบการเงินมีส่วนประกอบใหญ่ๆ ถึง 5 ส่วนด้วยกัน ว่าแต่ ในแต่ละส่วนมันบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจบ้าง? ลองไปดูกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์