รวบรวม 15 หน่วยงานที่ช่วยเหลือ SME ไทย

รวบรวม 15 หน่วยงานที่ช่วยเหลือ SME ไทย

<“รวบรวม 15 หน่วยงานที่ช่วยเหลือ SME ไทย

  ในการทำธุรกิจ การมีตัวช่วยที่ดีย่อมช่วยให้กิจการนั้นดำเนินไปได้เร็วกว่าการไม่มีตัวช่วยใดๆ ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ SME ไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของแหล่งความรู้หรือแหล่งเงินทุน วันนี้เราจะมาแนะนำ 15 หน่วยงาน (รัฐ) ที่ SME ควรรู้จักค่ะ

  1. เริ่มต้นธุรกิจ   

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เมื่อเริ่มต้นกิจการ สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งในปัจจุบันเจ้าของกิจการสามารถทำการ จดทะเบียนผ่านเว็บไซต์ โดยสามารถจองชื่อ และตรวจคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลได้ทางเว็บไซต์ สำหรับรายละเอียดในการจดทะเบียนนิติบุคคล เราเคยได้เขียนอธิบายขั้นตอนไว้ใน บทความนี้

  • กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แน่นอนว่าในการเริ่มธุรกิจสิ่งที่ต้องออกแบบคือเครื่องหมายการค้า หากเป็นเมื่อก่อน ถ้าเราอยากตรวจสอบเครื่องหมายการค้าว่าที่เราได้ออกแบบมานั้นสามารถนำไปใช้ หรือซ้ำกับที่มีอยู่แล้วหรือไม่ เราจะต้องเดินทางไปถึงกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตรวจสอบ แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถ ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าออนไลน์ได้ และหากต้องทำการจดเครื่องหมายการค้าสามารถยื่นคำขอทาง เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนจะต้องส่งต้นฉบับคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบไปยังกรมฯ ภายใน 15 วัน โดยสามารถยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

สำหรับ SME ที่ดำเนิน กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สามารถทำการสมัครเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่อไปนี้

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี
อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

  1. นำเข้า-ส่งออก

  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

สำหรับใครที่สนใจธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องเคยได้ยินชื่อกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) มาบ้าง ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดที่กรมฯ ได้จัดเพื่อช่วยเหลือ SME เช่น งานสัมมนา อบรม หรือเทรดแฟร์ต่างๆ นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจยังสามารถสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ Thaitrade.com (เมื่อคุณสมบัติตรงกับที่กำหนด) ซึ่งเว็บไซต์นี้เปรียบเสมือนอาลีบาบาของเมืองไทยที่ได้รวบรวมสินค้าไทยที่ทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ หากมีผู้สนใจ ผู้ประกอบการสามารถทำการซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์ได้โดยตรง

DITP ยังมี ระบบ e-Learning เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการส่งออกได้ สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลตลาดต่างประเทศเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน

  • หอการค้าไทย

หอการค้าให้บริการจับคู่ธุรกิจ (business matching) โดยผู้ประกอบการสามารถแสดงความประสงค์ได้ว่าต้องการทำการค้ากับประเทศใด และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การค้า ของแต่ละประเทศ

ในการส่งออกผู้ประกอบการยังสามารถขอใบ CO หรือ ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กับหอการค้า ศุลกากรย่อมเชื่อมั่นสินค้าที่มีใบ CO ยืนยันแหล่งผลิต มากกว่าสินค้าที่ไม่ทราบที่มาชัดเจน ดังนั้นในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ผู้ซื้อจะร้องขอผู้ส่งออกให้ขอใบ CO แนบกำกับมาพร้อมสินค้าเสมอ

  • กรมศุลกากร
    สำหรับผู้นำเข้าสินค้า แน่นอนว่าการนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายย่อมถูกควบคุมโดยกรมศุลกากรอย่างเข้มงวด ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจำเป็นต้องยื่นเรื่องกับกรมศุลกากรเพื่อบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสินค้าเพื่อให้กรมศุลกากรออกใบเลขที่ส่งสินค้าขาเข้า และผู้ประกอบการสามารถนำใบขนสินค้านี้ไปชำระภาษีอากร
  1. อุตสาหกรรมและการผลิต

  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม โดยให้บริการปรึกษาผ่านหน่วยงานที่มีชื่อว่า BSC หรือ Business Service Center ซึ่งมีสาขาถึง 14 แห่ง BSC มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการ การผลิต เทคโนโลยี การเงินการบัญชี ให้ข้อมูลทางอุตสาหกรรม การลงทุน โอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Business Service Center

นอกจากให้คำปรึกษาแล้ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังจัดสัมมนาที่ให้ความรู้แก่ SME เป็นประจำ โดยหัวข้อสัมมนาครอบคลุมทั้งในส่วนการผลิต การทำการตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี และการเงิน

สามารถดูปฏิทินกิจกรรมได้ ที่นี่

  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

สมอ. คือหน่วยงานให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และรับรองคุณภาพให้กับองค์กรต่างๆ ตามมาตรฐาน ISO, OHS, HACCP ฯลฯ ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมของคุณ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ การมีเครื่องหมายเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมของคุณ ทั้งนี้ จะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าสินค้านั้นจำเป็นต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานใดบ้าง โดยสามารถดูคู่มือการขอรับใบอนุญาตได้ ที่นี่

  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สำหรับ SME ท่านใดที่ทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร, ยา, เครื่องสำอาง, เครื่องมือแพทย์, วัตถุอันตราย (ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางการสาธารณสุข), หรือ วัตถุเสพติด (วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและยาเสพติดให้โทษ) จะต้องทำการขอเครื่องหมายอ.ย. เพื่อสร้างความไว้วางใจจากผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย สามารถดูขั้นตอนการดำเนินการขออนุญาต ที่นี่

  1. แหล่งความรู้และที่ปรึกษา

  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

สสว. ให้บริการ one-stop-service เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ SMEs ในการเข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ เครือข่ายธุรกิจแบบครบวงจร ผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ และงานสัมมนาที่ทางสสว. จัดเพื่อหาความรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้สามารถ ลงทะเบียนผู้ประกอบการ เพื่อรับข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจต่างประเทศที่สสว.เป็นพันธมิตร หรือได้รับสิทธิเข้าร่วมนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยสสว. เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย

  • สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED)

ISMED เป็นสถาบันที่พัฒนาผู้ประกอบการผ่านการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ประกอบการในรูปแบบการฝึกอบรม สัมมนา เรียนรู้ทางไกล และอื่นๆ นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษา คำแนะนำในเรื่องการเริ่มต้นกิจการ พัฒนาสมรรถนะธุรกิจ พัฒนาธุรกิจต่างประเทศและการตลาด การปรับปรุงกิจการ เช่น การเพิ่มมูลค่าสินค้าผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สามารถดูตารางการอบรมได้ ที่นี่

นอกจากความรู้แล้ว เชื่อว่าสิ่งที่ SME หลายคนมองหาคือแรงบันดาลใจ และกำลังใจในการทำธุรกิจ ปัจจุบันมีเว็บไซต์และแมกกาซีนที่รวบรวมเรื่องราวของธุรกิจ SME หรือสตาร์ทอัพเพื่อให้ผู้ที่สนใจเกิดไอเดียและแรงบันดาลใจดีๆ โดยคุณสามารถดาวน์โหลดแมกกาซีนเวอร์ชั่นดิจิตอลได้ฟรี

  1. แหล่งเงินทุน

  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

หากธุรกิจของคุณอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถสมัครขอทุนวิจัยกับสวทช. ซึ่งให้เงินทุนช่วยเหลือการทำวิจัย นอกจากนี้ สวทช. ยังร่วมงานกับภาคเอกชนหลายรายเพื่อจัดการแข่งขันที่ให้เงินทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการ Young Entrepreneur หรือ โครงการ Startup Voucher ซึ่งนอกจากเงินทุนแล้วผู้ร่วมโครงการยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การขยายไปตลาดต่างประเทศ โอกาสในการออกบูธงานนิทรรศการต่างๆ การจับคู่ธุรกิจ และการประสานแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในด้านต่างๆ เช่น การตลาด การเงิน กฏหมาย เป็นต้น

  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

หากใครเคยไปงาน Startup Thailand 2017 ที่ผ่านมา คุณอาจจะไม่เคยทราบว่าผู้อยู่เบื้องหลังงานที่ยิ่งใหญ่นี้ก็คือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA โดย NIA ให้การสนับสนุนทั้ง SME และสตาร์ทอัพที่มีธุรกิจเชิงนวัตกรรม ข่าวดีคือ ผู้ประกอบการสามารถสมัครขอทุนของโครงการ Open Innovation โดยมีเงินทุนสนับสนุน (เงินให้เปล่า) สูงสุด 1,500,000 บาท นอกจากนี้สตาร์ทอัพที่ได้รับการรับรองจาก NIA ยังมีสิทธิได้ข้อเสนอเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วยเช่นกัน

  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
    เนื่องจากการขอกู้เงินจากแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ผู้ค้ำประกัน แต่ในความเป็นจริงบางธุรกิจก็ไม่ได้หาผู้ค้ำประกันได้ง่ายๆ อาจจะมาจากหลายปัจจัย ทั้งความน่าเชื่อถือไม่มากพอ หรือธุรกิจเรายังใหม่เกินไป บสย. จึงเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ โดยการเป็นสถาบันในการค้ำประกัน ทำให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

ที่มา : https://www.peerpower.co.th/blog/sme/15-agencies-that-support-thai-smes/

 832
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์