ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล

ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล

< ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล



บุคคลธรรมดา/ร้านค้า/ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนพาณิชย์ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและยื่นคำขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ต่อกรมสรรพากร

คณะบุคคล จดทะเบียนและยื่นคำขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ต่อกรมสรรพากร

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้

   1.ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น                    

     คำแนะนำในการจองชื่อนิติบุคคล
   - การขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องเป็นภาษาไทยและให้ระบุภาษาต่างประเทศเป็นอักษรโรมันด้วยทุกครั้ง
   - แบบขอจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต

   2.กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ที่กิจการจะทำ สถานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สามาร จะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้ แบบพิมพ์ที่ใช้ในการจดทะเบียน

  • คำขอ : แบบ หส.1 , หน้าหนังสือรับรอง
  • รายการ : หส.2
  • เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว.
  • เอกสารประกอบ แบบจองชื่อนิติบุคคล,สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน,สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ,หนังสือมอบอำนาจ
  • แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)

    3.ชำระค่าธรรมเนียม

บริษัทจำกัด จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
   1.ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น                    

     คำแนะนำในการจองชื่อนิติบุคคล
   - การขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องเป็นภาษาไทยและให้ระบุภาษาต่างประเทศเป็นอักษรโรมันด้วยทุกครั้ง
   - แบบขอจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต  

   2.ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน แบบพิมพ์ที่ใช้ในการจดทะเบียน

  • คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง
  • รายการ : แบบ บอจ.2 (ใช้ทั้งสองหน้า)
  • เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว.
  • เอกสารประกอบ แบบจองชื่อนิติบุคคล,สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน,สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ,หนังสือมอบอำนาจ

   3.เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
   4.ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
   5.เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
   6.กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
   7.เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 1 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท แบบพิมพ์ที่ใช้ในการจดทะเบียน

  • คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง
  • รายการ : แบบ บอจ.3  (ใช้ทั้งสองหน้า)
  • เอกสารประกอบรายการ : แบบ ก.
  • เอกสารประกอบ บอจ.5,สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท,สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท,สำเนาข้อบังคับ (ถ้ามี),หลักฐานการชำระค่าหุ้นของบริษัทอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 
     - เอกสารที่ทางธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของบริษัท หรือ 
     - หนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้นและการเก็บรักษาค่าหุ้นของบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ),ข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ ,สำเนาบัตรประจำตัวของ  กรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน,สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ,หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)



บทความโดย : cwaudit.com



 46201
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์