เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ..การกู้ร่วมซื้อบ้าน

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ..การกู้ร่วมซื้อบ้าน

กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรกู้ร่วมแบบไหนได้บ้าง



สำหรับท่านที่จะทำการกู้ร่วมซื้อบ้าน สิ่งแรกเราไปทำความรู้จักกับการกู้ร่วมซื้อบ้าน คือ การร่วมเซ็นสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน ซึ่งการกู้ร่วมนี้ผู้ที่ทำการกู้ร่วมกันจะต้องมีดังนี้

  • ต้องเป็นคนที่มีนามสกุลเดียวกัน เช่น พ่อแม่ พี่น้อง ลูก
  • ต้องพี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุล แต่ต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรที่ระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน
  • ต้องเป็นสามี-ภรรยาที่แต่งงานกันทั้งแบบที่จดทะเบียนหรือไม่ได้จดทะเบียน แต่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี-ภรรยากัน เช่น รูปแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร การ์ดแต่งงาน เป็นต้น
  • กรณีที่เป็นแฟนกัน เช่น ชาย-หญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน, กลุ่ม LGBTQ+ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด)

ซึ่งการกู้ร่วมนี้ถือเป็นการแสดงให้ทางธนาคารเห็นว่า ผู้ร่วมรับภาระหนี้มีความสามารถทางการเงินเพียงพอ ที่จะผ่อนชำระเงินต้น และดอกเบี้ยคืนได้ตามสัญญา

คุณสมบัติของการขอกู้ร่วมที่ต้องรู้

สำหรับพื้นฐานคุณสมบัติของผู้กู้ร่วมที่ธนาคารส่วนใหญ่กำหนดไว้ จะมีดังต่อไปนี้

  1. ควรมีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ส่วนมากต้องไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็นผู้กู้หลักหรือผู้กู้ร่วม
  2. ต้องไม่ควรภาระหนี้มากเกินไป และต้องไม่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้อย่างเด็ดขาด
  3. ต้องมีสัญชาติไทยและอายุ 20 ปีขึ้นไป
  4. ควรผ่านการทำงานประจำต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  5. กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัวต้องดำเนินกิจการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี


ไอเดียกู้ซื้อบ้านในราคาตั้งแต่ 2-4 ล้าน


สำหรับคนที่ฐานเงินเดือนน้อยและต้องการกู้ซื้อบ้านในราคาตั้งแต่ 2-4 ล้าน นั้นสามารถทำได้โดยวิธีกู้ร่วม โดยผู้กู้ร่วมแต่ละคนจะต้องเอารายได้ไปหักค่าใช้จ่ายมาร่วมกันคิด ตัวอย่างเช่น นาย จำดี มีเงินเดือน 20,000 บาท ผ่อนรถ 7,000 หลังจากหักแล้ว จะมีเงิน เหลือ 13,000 มารวมกับ ของเรา 15,000 จะเป็น 28,000 ซึ่งจะทำให้เรามีรายได้เหลือมากขึ้น จะทำให้เราสามารถเพิ่มวงเงินสำหรับกู้ได้สูงขึ้น ส่วนบ้านราคา 4 ล้านเราจะต้องมีผู้กู้ร่วมเท่าไรถึงวงเงินจะสามารถกู้ได้แล้ว

ข้อควรระวังสำหรับการกู้ร่วม

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ท่านจะต้องรู้ในกรณีกู้บ้านร่วมกันหลายคน จะขอมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกคน หรือคนใดคนหนึ่ง สามารถทำได้แต่จะต้องการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านร่วมกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการกู้ร่วม เหล่าผู้กู้ร่วมจะต้องคำนึงประเด็นหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้

มีการผิดใจกันในระหว่างผ่อนบ้าน
เช่น เกิดการเลิกรากันระหว่างคู่รัก จนทำให้ไม่อยากรับผิดชอบร่วมกันต่อ หรืออาจมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดมีปัญหาทางการเงิน ทำให้ภาระทั้งหมดตกเป็นของอีกฝ่ายได้ ซึ่งเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น ก็อาจทำให้แบกภาระชำระหนี้ต่อไม่ไหว จนจำเป็นต้องถอนการกู้ร่วม หรือถ้าตกลงกันไม่ได้ก็จำเป็นต้องขายบ้านทิ้งในที่สุด

เหล่าผู้ถือกรรมสิทธิ์บ้าน จะต้องรับภาระหนี้ร่วมกัน
สำหรับข้อนี้ถึงท่านจะไม่ได้เป็นผู้จ่ายค่าผ่อนบ้านเลยแค่เอาชื่อมาใส่เฉยๆ แต่เมื่อมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในบ้านและนั้นเท่ากับว่าเราได้กลายเป็นผู้กู้ร่วม จะต้องรับภาระหนี้ที่กู้นี้ไปด้วย ทำให้ข้อมูลการเป็นหนี้นั้นจะปรากฏในเครดิตบูโร หากมีการกู้บ้านร่วมกัน ในเครดิตบูโรจะแสดงรายละเอียดว่า ตัวเรามีชื่อกู้ร่วมกับใครบ้างและยังมียอดชำระต่อเดือนเท่าไร เช่นตัวอย่าง ถ้าเรากู้บ้านราคา 3 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 15,000 บาท หากกู้บ้านร่วมกัน 3 คนเพื่อให้มีชื่อในกรรมสิทธิ์บ้านร่วมกัน เท่ากับว่า ตัวเราจะต้องจ่ายหนี้นี้ร่วมกัน ซึ่งบางธนาคารอาจคิดหนี้เฉลี่ย โดยมองว่าผู้กู้มีภาระหนี้คนละ 5,000 บาท

แต่บางธนาคารอาจคิดยอดหนี้คนละ 15,000 บาทเลยก็ได้ ทำให้เราต้องไม่ลืมว่า เมื่อต้องการกู้ซื้อบ้านสำหรับซื้อเป็นของตัวเอง หรือขอสินเชื่อในอนาคต อาจทำได้ยากขึ้น เพราะโดยทั่วไปธนาคารจะกำหนดภาระผ่อนหนี้สำหรับผู้กู้แต่ละคนไว้ไม่เกิน 40-60% ของรายได้ต่อเดือน ดังตัวอย่าางว่า ถ้ารายได้เดือนละ 3 หมื่นบาท หากธนาคารคิดภาระหนี้ที่ 40% เท่ากับว่าสามารถมีภาระผ่อนได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าเรามีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมบ้านโดยธนาคารคิดภาระหนี้ที่ 1 หมื่นบาท เท่ากับว่า จะเหลือความสามารถในการผ่อนหนี้อีกเพียง 5,000-6,000 บาท อาจมีผลให้ขอวงเงินสินเชื่อได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย

เมื่อขายบ้าน ต้องเสียภาษีในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น
ในกรณีที่ถ้าเราต้องการขายบ้านที่กู้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ลูก พี่น้อง สามีภรรยา ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ยกเว้นคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน ถ้าจะขายจะต้องได้รับการยินยอมจากทุกคนที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์ โดยเมื่อขาย รายได้จากการขายบ้านถือเป็นรายได้ในฐานะของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เมื่อขายบ้านได้และเราจะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในวันที่โอนกรรมสิทธิ์กันที่กรมที่ดิน เพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากร และผู้ที่ขายบ้านจะต้องทำการยื่นจดทะเบียนขอเลขผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญต่อกรมสรรพากรด้วย พร้อมนำรายได้จากการขายบ้านมายื่นแบบภ.ง.ด.90 สามารถนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตเพื่อขอคืนหรือชำระเพิ่ม   แต่ถ้าหากมีการแบ่งเงินกำไรจากการขายบ้าน เช่น ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่านายหน้า ฯลฯ ผู้ที่กู้ร่วมที่เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนต้องจ่ายส่วนแบ่งกำไรนั้นรวมเป็นเงินได้มาตรา 40(8) เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้กรณีนี้ต้องเสียภาษีในฐานะห้างหุ้นสามัญและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่สำหรับคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน ทางกฎหมายถือเป็นบุคคลเดียวกัน เมื่อขายบ้านที่มีกรรมสิทธิ์บ้านร่วมกัน รายได้จากการขายบ้านจะแบ่งครึ่ง หรือแบ่งตามสัดส่วนกรรมสิทธิ์ โดยไม่ต้องนำรายได้มาเสียภาษีในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลดหย่อนภาษี จากดอกเบี้ยบ้าน ต้องหารเฉลี่ย
สำหรับการจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้บ้าน ผู้กู้สามารถที่จะนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดคือ 1 แสนบาทต่อปี แต่กรณีกู้บ้านร่วมกัน ดอกเบี้ยบ้านที่เกิดขึ้นให้หารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ เช่น กู้ร่วม 3 คน ดอกเบี้ยจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 6 หมื่นบาท จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 2 หมื่นบาท โดย2ใน3คนจะสละสิทธิ์เพื่อให้ใครคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิคนเดียว หรือมากกว่าอีกคนหนึ่งไม่ได้ รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านนั้น บ้านหนึ่งหลังจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 1 แสนบาทแต่หากดอกเบี้ยบ้านในปีนั้นอยู่ที่ 1.5 แสนบาท โดยสิ่งที่ผู้กู้ต้องรู้คือไม่ใช่ว่ากู้ร่วม 3 คนแล้วจะหาร3 เพื่อใช้สิทธิได้คนละ 50,000 บาท แต่จะใช้สิทธิได้สูงสุดคนละ 33,000 บาทเท่านั้น

    จะเห็นว่า การกู้ร่วมซื้อบ้านก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สามารถซื้อบ้านได้ในวงเงินที่สูงขึ้น มีคนช่วยผ่อนชำระทำให้ไม่หนักจนเกินไป อีกทั้งขออนุมัติสินเชื่อได้ง่าย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอีกมากมายหลายข้อที่ต้องทำการศึกษาและนำมาประกอบการพิจารณาว่า ควรจะทำเรื่องกู้ร่วมดีหรือไม่

   สำหรับการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านนั้นสิ่งที่ทุกคนควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก นอกจากการหาคนกู้รวมคือ วินัย สำหรับการเงินขอท่านเวลานี้นั้นดีหรือยังเพราะไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตเท่ากับตัวคุณดี ดังนั้นหากวินัยท่านดีก็จะสามารถเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาส่วนใหญ่ได้อย่างแน่นอน 

 500
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์