6 ลักษณะเพื่อการวิเคราะห์ผู้ฟัง

6 ลักษณะเพื่อการวิเคราะห์ผู้ฟัง

6 ลักษณะเพื่อการวิเคราะห์ผู้ฟัง




6 ลักษณะของผู้ฟังที่ HR ควรเรียนรู้เพื่อการวิเคราะห์ผู้ฟัง

  ลักษณะของผู้ฟังนั้นมีหลากหลายประเภท ฝ่ายบริหารงานบุคคล หรือ HR ควรเรียนรู้ผู้ฟังแต่ละประเภทเอาไว้ เพื่อที่ฝ่าย HR จะสามารถรับมือกับผู้ฟังได้ การวิเคราะห์ผู้ฟังจะทำให้ HR ติดต่อสื่อสารออกไปได้ง่ายขึ้น รู้ว่าผู้ฟังต้องการอะไร ต้องใช้การสื่อสารแบบไหนเพื่อให้เขาสนใจฟังสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไป ทำให้การสื่อสารภายในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นและดูเป็นมืออาชีพ และนี่คือ 7 ลักษณะของผู้ฟังที่ HR ควรทำความเข้าใจ

1. ลักษณะผู้ฟังเพื่อเก็บข้อมูล (เป็นลักษณะที่มีความตั้งใจฟัง)

  เมื่อผู้ฟังต้องการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง มักจะเรียกว่าเป็นการฟังเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังสนใจ ผู้ฟังจะใช้สมาธิอย่างมากขณะฟัง มีการคิดวิเคราะห์และเก็บข้อมูลอยู่ตลอดเวลา มักเหมาะกับการฟังประเภทข้อมูลการฝึกงาน การเรียนรู้ด้วยตัวเอง การฟังเพื่อต้องการศึกษา ผู้ฟังลักษณะนี้จึงเหมาะกับการฟังหัวข้อที่มีการให้ข้อมูลเยอะ และเป็นเรื่องที่จริงจัง เพราะมีสมาธิในการฟังที่ดี

2. ผู้ฟังแบบแยกแยะได้

  ทุกคนล้วนมีทักษะในการฟังแบบแยกแยะได้ ไม่เพียงแต่แยกแยะเนื้อหาที่ฟังเท่านั้นแต่ผู้ฟังยังแยกแยะจากสีหน้า น้ำเสียง ท่าทางที่แสดงออก หรือภาษากายด้วย แม้กำลังฟังในภาษาต่างประเทศที่แปลไม่ได้แต่ก็สามารถเข้าใจบริบทจากการแยกแยะ สังเกตน้ำเสียงและท่าทางได้ สไตล์ผู้ฟังนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนในการสนทนา บางครั้งก็สามารถอ่านความรู้สึกของผู้พูดออกมาได้อย่างดี การสื่อสารกับคนกลุ่มนี้จึงต้องมีความระมัดระวังและตรงไปตรงมาอย่างมาก

3. ผู้ฟังแบบที่มีความลำเอียง

  ผู้ฟังที่มีความลำเอียง หรือเรียกอีกอย่างว่าการเลือกฟัง จะเป็นผู้ฟังที่เลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตนเองอยากรู้ หรืออยากฟังเท่านั้น และบางครั้งการพูดกับผู้ฟังที่มีความลำเอียง ก็อาจทำให้ข้อมูลที่กำลังสื่อสารถูกบิดเบือนจากความจริงได้ ฝ่าย HR จึงควรฝึกวิเคราะห์ผู้ฟังอยู่เสมอการสื่อสารกับผู้ฟังประเภทนี้จึงอาจจะต้องรู้ก่อนว่าผู้ฟังต้องการอะไร หรือเมื่อพูดออกไปแล้วมีการให้ผู้ฟังทวนอีกครั้งว่าข้อมูลที่ได้รับตรงกับที่เราจะสื่อหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการทำงานหรือภายในองค์กรนั่นเอง

4. ผู้ฟังแบบที่มีความเห็นอกเห็นใจ

  ผู้ฟังแบบมีความเห็นอกเห็นใจมักจะมีการใช้อารมณ์เข้ามาร่วมด้วย โดยผู้ฟังลักษณะนี้จะค่อนข้างรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้พูดได้อย่างดี การรับฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจถือเป็นสิ่งสำคัญที่ฝ่าย HR ต้องเรียนรู้เอาไว้ หากพนักงานเกิดความไม่สบายใจ และมีปัญหาที่อยากปรึกษาการเป็นผู้ฟังที่มีความเห็นอกเห็นใจ จะทำให้พนักงานกล้าที่จะพูดคุยและเล่าถึงปัญหาต่าง ๆ ที่พบเจอในการทำงานหรือองค์กรได้

5. ผู้ฟังที่ฟังแบบภาพรวม

  ผู้ฟังที่ฟังแบบภาพรวม มักมีการฟังอย่างครอบคลุมและมีการใช้ทักษะทางภาษาอย่างมาก คิดวิเคราะห์ และจับประเด็นของภาพรวมในเนื้อหาได้อย่างดี ซึ่งในการทำงานก็ต้องใช้ทักษะเหล่านี้ด้วย เช่นในการทำงานจะมีการรับฟังข้อติชมของผลงานจากลูกค้า หัวหน้า หรือฝ่ายอื่น ๆ ผู้ฟังต้องมีทักษะการฟังแบบภาพรวมโดยคิด วิเคราะห์ และสรุปภาพรวมของเรื่องที่ได้ยินมาได้ นี่อาจเป็นอีกข้อที่ฝ่าย HR สามารถนำมาประเมินผู้ที่จะเข้ามาสัมภาษณ์งานว่าเหมาะกับตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่

6. ผู้ฟังที่ใช้วิจารณญาณ

  ผู้ฟังที่ใช้วิจารณญาณนั้น เหมาะกับการฟังเนื้อหาข้อมูลที่ซับซ้อน หรือต้องมีการวิเคราะห์ โดยผู้ฟังลักษณะนี้จะฟังอย่างมีวิจารณญาณเพื่อประเมินสิ่งที่ได้ยินมา การฟังที่ต้องใช้วิจารณญาณเป็นอีกทักษะที่สำคัญในการทำงานด้วย เช่น จะใช้การฟังประเภทนี้เพื่อแก้ปัญหากับคำติชมหรือคำขอของลูกค้า ซึ่งผู้ฟังประเภทนี้จะไม่ได้เชื่อคำพูดที่ได้ยินมาทั้งหมด แต่จะมีการใช้วิจารณญาณ ในการคิดเปรียบเทียบจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาก่อนนำเหตุผลต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจ

  การที่ฝ่าย HR ได้มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง รู้ถึงลักษณะของผู้ฟังที่ดีในแต่ละประเภทได้นั้น จะทำให้เกิดการทำงานและการสื่อสารได้อย่างราบรื่นขึ้นภายในองค์กร เพราะหากฝ่าย HR ไม่มีการสื่อสารและรับมือกับผู้ฟังแต่ละประเภทได้ดีนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในองค์กรขึ้นภายหลังได้



Cr: https://humanica.com/th/blog/6-type-of-listenings/



 

 2332
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์