การตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร

การตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร





 

วิธีตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร ควรเริ่มต้นจาก

  1. การวิเคราะห์เปรียบเทียบยอดเงินคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบบัญชีปัจจุบันกับวันสิ้นรอบบัญชี ในงวดก่อน แล้วติดตามหาสาเหตุของผลแตกต่าง โดยวิธีการสอบถามจากเจ้าของรายการ หรือผู้เกี่ยวข้อง
  2. ตรวจยันยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารแต่ละบัญชีในงวดปัจจุบัน ณ วันสิ้นงวด โดยสอบยันยอดคงเหลือ กับยอดคงเหลือ ณ วันเดียวกันกับสมุดเงินฝากธนาคาร, Bank Statement ตามยอดคงเหลือที่ปรากฏ ณ วันสิ้นงวดบัญชี กรณีที่ยอดคงเหลือตามสมุดบัญชีของบริษัทมียอดคงเหลือไม่เท่ากับยอดตามสมุดเงินฝากธนาคารหรือ Bank Statement ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องตรวจสอบกระทบยอดคงเหลือ กับงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ณ วันสิ้นรอบบัญชีเดียวกัน

         นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบบัญชียังจะต้องตรวจดูความถูกต้องของงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร โดยการตรวจย้อนรอยเริ่มตั้งแต่ต้นทางของการทำงบพิสูจน์เงินฝากธนาคารจนได้มา ซึ่งงบพิสูจน์ยอดเงิน ฝากธนาคาร และนอกจากผู้สอบบัญชีต้องย้อนรอยตรวจขั้นตอนของการจัดทำงบ พิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร แล้ว ผู้สอบบัญชียังต้องมีหน้าที่ในการตรวจรายการที่ปรากฏเป็นยอดคงค้าง ติดในรายการงบพิสูจน์ ยอดเงินฝากธนาคารอีก เช่น เงินที่รับล่วงหน้าแต่ยังไม่ปรากฏรายการรับเงิน ในสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือรายการจ่ายที่ผู้รับเงินยังไม่นำไปขึ้นเงิน หรือตัดบัญชีธนาคาร ด้วยการตรวจการรับ-จ่ายชำระกับสมุด เงินฝากธนาคารและ Bank Statement ภายหลังวันที่ที่ปรากฏ ในงบการเงิน

         ยกตัวอย่าง เช่น เราตรวจความถูกต้องของยอดคงเหลือที่ปรากฏในงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ของธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม กับรายการรับ-จ่ายที่ปรากฏรายการรับ-จ่ายในสมุดเงินฝากธนาคาร หลังจากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้นไป จนถึงรายการล่าสุด ณ วันที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ ในหมู่ Auditor เรียกวิธีการตรวจนี้ว่า"การตรวจ Subsequent Event" หรือ "การตรวจเหตุการณ์หลังวันที่ในงบ การเงิน" ซึ่งบ่อยครั้งมักจะพบ รายการสอดไส้ในการจัดทำงบพิสูจน์ ยอดเงินฝากธนาคารด้วยวิธีนี้ เป็นส่วนใหญ่



ที่มา : www.accountancy.in.th

 441
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์