ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล




 

ปัญหา

        ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย” (Withholding Tax) แต่เดิม ขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีเป็นประจำทุกเดือน ไม่สะดวกแก่ผู้รับเงินที่จะนำภาษีที่ถูกหักไว้ไปเครดิตในการคำนวณภาษี ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้

แนวทางการปรับปรุงของกรมสรรพากร

กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ e–Withholding Tax ซึ่งเป็น วิธีการใหม่ในการนำส่งเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 มาตร 70 มาตรา 70 ทวิ และภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งข้อมูลและภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคารผู้ให้บริการระบบ e–Withholding Tax แทนการยื่นแบบกระดาษ หรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต (e–Filing) ดังนี้

  1. ผู้จ่ายเงินสามารถให้ธนาคารนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนพร้อมกับการจ่ายเงินผ่านธนาคารไปยังผู้รับเงินโดยผู้จ่ายเงินไม่ต้องยื่นแบบและไม่ต้องออกและจัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก ผู้จ่ายเงินจะได้รับใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จากกรมสรรพากร การเก็บรักษาใบเสร็จรับเงินจึงสะดวกมากขึ้น และสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

  2. ผู้รับเงินไม่ต้องเก็บรักษาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ต้องยื่นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมทั้งสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทำให้สะดวกและมีต้นทุนลดลง

  3. กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางออนไลน์ผู้เสียภาษีจึงได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น และไม่ต้องยื่นหลักฐานเพิ่มเติมต่อกรมสรรพากร

จะเริ่มให้บริการ e-Withholding Tax กลุ่มแรกแก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยระบบจะสอดคล้องกับ การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 2% สำหรับการจ่ายเงินผ่าน e-Withholding Tax ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564

 

 ที่มา ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส

 1060
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์