ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย WHT

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย WHT



ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  WHT

กรณีนิติบุคคลเช่ารถยนต์ที่มีการส่งมอบการครอบครอง รถยนต์ ถือเป็นการเช่า ผู้เช่ารถยนต์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

ตัวอย่าง

บริษัทฯ ทำสัญญาเช่ารถยนต์เดือนละ 10,000 บาท เมื่อจ่ายเงินค่าเช่า บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% (10,000 x 5%) = 500 พร้อมออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย มอบให้แก่ผู้รับเงินทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน และต้องนำส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภายใน 7 วันของเดือนถัดไป ด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 กรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา และแบบ ภ.ง.ด.53 กรณีผู้รับเงิน เป็นนิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล  CIT

ค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตาม กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

  • ค่าเช่ารถยนต์นำมาหักเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคันละ 36,000 บาทต่อเดือน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  PIT

กรณีบุคคลธรรมดาให้เช่ารถยนต์ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) ประเภทค่าเช่า

การหักค่าใช้จ่าย:

  • กรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ 30% และในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี

ระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี

  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 (ตอนครึ่งปี) ภายใน ก.ค.-ก.ย. ของปีภาษี
  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 (ตอนสิ้นปี) ภายในเดือน มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิต ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็น ภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ข้อ 2(1))



ที่มา: asset-accounting

 14493
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์