การเตรียมงานสำหรับการปิดบัญชี ประจำปี 2562

การเตรียมงานสำหรับการปิดบัญชี ประจำปี 2562



15 ประเด็นควรระวังรายการบัญชีผิดปกติ


1. บัญชีเงินสด มักพบว่า จำนวนเงินสดที่แสดงมักไม่ค่อยสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ หมายความว่า จำนวนเงินสด
ที่แสดงมากเกินจริง อาจจะมีข้อสงสัยได้ว่าไม่มีเงินสดอยู่จริง


2. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน มียอดแสดงด้านเครดิต เวลาจัดทำงบการเงิน ทางบัญชีนำไปแสดงอยู่ภายใต้หนี้สิน
หมุนเวียน – เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินระยะสั้น ซึ่งไปได้พิจารณาอย่างระมัดระวัง หากบัญชี
เงินฝากธนาคารกระแสรายวัน ไม่ใช่บัญชีเงินเบิกเกินบัญชี จะไปแสดงอยู่ภายใต้เงินเบิกบัญชีและเงินกู้ยืมจาก
สถาบันการเงินระยะสั้นไม่ได้


3. บัญชีลูกค้า ในหลักการ บัญชีคุมลูกหนี้การค้าต้องตรงกับรายละเอียดบัญชีลูกหนี้การรายตัวรวมกัน มีข้อสังเกต
ที่ต้องพิจารณา บัญชีลูกหนี้การค้ารายตัวรายใดที่มียอดคงเหลือติดวงเล็บ ควรหาสาเหตุว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
อย่างไร


4. บัญชีลูกหนี้การค้า หากมีลูกหนี้การรายใดมีแนวโน้มเก็บเงินไม่ได้ นักบัญชีต้องนำหลักการการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัย
จะสูญมาพิจารณาในการรับรู้รายการ


5. บัญชีเงินทดรองจ่าย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะต้องมีรายละเอียดประกอบ แต่สิ่งที่นักบัญชีต้องระมัดระวังในรายละเอียด
ประกอบ ต้องดูว่ามีเงินทดรองจ่ายค้างนาน ซึ่งโดยลักษณะไม่น่าจะแสดงอยู่ภายใต้เงินทดรองจ่ายหรือไม่


6. บัญชีสินค้าคงเหลือ จะมีอยู่ 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 การพิจารณากรณีสินค้าเสื่อมสภาพ ค้างนาน ซึ่งต้องพิจารณา
นำหลักการการเปรียบเทียบราคาทุน กับมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ และแสดงตัวที่ต่ำกว่า มาพิจารณารับรู้รายการ
ประเด็นที่ 2 สินค้าขาดบัญชี STOCK ซึ่งเป็นผลจากการตรวจนับ ในหลักการควรต้องมีการหาสาเหตุ ก่อนการปรับปรุง


7. บัญชีสินทรัพย์ถาวร – ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้องให้ความสำคัญ ความมีอยู่จริง ต้องมีการตรวจนับเช่นเดียวกับ
บัญชีสินค้า ประเด็นที่ปัญหาอีกอย่าง คือ การประมาณอายุการใช้ มักพบบ่อยๆ ว่าการประมาณอายุการใช้มักไม่ค่อย
สอดคล้องกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งปัญหาตรงนี้จะส่งกระทบต่องบกำไรขาดทุน สินค้าคงเหลือ และราคาตาม
บัญชีของสินทรัพย์


8. หนี้สินหมุนเวียน – รายการค้างจ่าย มักจะมีการตั้งค้างจ่ายไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะประมาณการหนี้สินที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้น นักบัญชีไม่ได้ติดตามสอบถามข้อมูลที่เป็นข้อตกลง ข้อผูกพัน จึงทำให้บันทึกบัญชีในส่วนนี้ไม่ครบถ้วนเช่นกัน


9. ทุนจดทะเบียน เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดแต่ก็เกิดขึ้นได้ กล่าวคือ ทุนจดทะเบียนที่แสดงข้อมูลในงบการเงิน ไม่ตรงกับ
ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารหนังสือรับรอง ดังนั้น นักบัญชีควรจะต้องตรวจสอบกับเอกสารหนังสือรับรองปัจจุบัน


10. บัญชีรายได้ ควรต้อง Cut off เอกสารให้ดี และนักบัญชีต้องตอบได้ว่า การรับรู้รายได้นั้นได้ปฏิบัติเป็นไปตาม
เกณฑ์การรับรู้รายได้ที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดหรือไม่ รวมถึงควรสอบยัน / กระทบยอดกับแบบ
ภพ.30 ผลต่างที่เกิดขึ้น ควรต้องทราบสาเหตุ พร้อมหลักฐานสนับสนุน


11. บัญชีต้นทุนขาย นักบัญชีต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของโครงสร้างต้นทุน กำไรขั้นต้น และต้องหาสาเหตุ หากผล
ออกมาแตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญ


12. บัญชีค่าใช้จ่ายและบริหารรายการสำคัญ ควรต้องระวังบันทึกบัญชีครบถ้วนหรือไม่


13. บัญชีต้นทุนทางการเงิน ควรคำนวณออกมาเป็นอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสัญญา เพื่อเชื่อ
มั่นว่าจะบันทึกดอกเบี้ยครบถ้วน


14. บัญชีภาษีเงินได้ ควรจดทำกระดาษทำการ ในการคำนวณ


15. การเปิดเผยข้อมูล โดยส่วนใหญ่มักจะเปิดเผยไม่ครบ คือ ภาระผูกพันที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งควรต้องสอบถาม
ข้อมูลกับผู้บริหาร / ทนายความ /หรือสถาบันการเงิน



ที่มา: ธรรมนิติ Dharmniti

 535
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์