อัตรากำไรขั้นต้น เรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ เจ้าของธุรกิจต้องไม่พลาด

อัตรากำไรขั้นต้น เรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ เจ้าของธุรกิจต้องไม่พลาด

อัตรากำไรขั้นต้น เรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ เจ้าของธุรกิจต้องไม่พลาด

อัตรากำไรขั้นต้น

แน่นอนว่าถ้าคุณเป็นนักลงทุน หรือเจ้าของธุรกิจ “งบการเงิน” คงไม่ใช่อะไรที่แปลกใหม่เกินไปสำหรับคุณ “งบการเงิน” ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์กิจการในขั้นพื้นฐานเลยก็ว่าได้ โดยข้อมูลสำคัญๆ ของกิจการจะถูกสรุปมาอยู่ในงบการเงินแบ่งเป็น งบดุล งบกำไรขาดทุน และ งบกระแสเงินสด

ซึ่งจะแสดงอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantity Information)เท่านั้น ดังนั้นในการที่นักลงทุนหรือเจ้าของกิจการจะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กันเพื่อให้ความสามารถในการทำกำไร สภาพคล่อง ตลอดจนการใช้จ่ายเงินของบริษัท ก็จะต้องใช้การตีความด้วยอัตราส่วนทางการเงินเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ให้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพนั่นเอง

กำไรขั้นต้นคืออะไร ? กำไรขั้นต้นหมายถึง กำไร (ขาดทุน) หลังหักต้นทุนขาย หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นส่วนต่างของราคาซื้อขายนั่นเอง

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “อัตรากำไรขั้นต้น” (Gross Profit Margin: GMP) โดยคำนวณได้จาก

อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = [กำไรขั้นต้น (Gross Profit) / ยอดขายหรือรายได้หลัก (Sales)] x 100(%)

  

อัตราส่วนกำไรขั้นต้นใช้วิเคราะห์อะไรได้บ้าง?

การวิเคราะห์กำไรขั้นต้นเป็นกระบวนการที่สำคัญในการกำหนดยุทธวิธีทางธุรกิจและการวางแผนการดำเนินธุรกิจของคุณ ต่อไปนี้คือขั้นตอนที่สำคัญในการวิเคราะห์กำไรขั้นต้น:

  1. ประมาณรายรับ: ทำการประมาณรายรับโดยพิจารณาถึงการขายสินค้าหรือบริการของคุณ โดยพิจารณาถึงปริมาณขายและราคาขายของสินค้าหรือบริการ

  2. ประมาณต้นทุน: วิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตหรือให้บริการ รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

  3. คำนวณกำไร: ลบต้นทุนทั้งหมดจากรายรับเพื่อคำนวณกำไรขั้นต้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์กำไร

  4. ปรับปรุงและประเมิน: พิจารณาการปรับปรุงแผนธุรกิจของคุณโดยพิจารณาถึงวิธีการเพิ่มรายได้หรือลดต้นทุน เพื่อเพิ่มกำไรในอนาคต

    อัตรากำไรขั้นต้น สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ แสดงให้เห็นว่าทุกยอดขาย 100 บาท บริษัทมีกำไรขั้นต้นอยู่กี่บาทนั่นเอง

    ในส่วนของนักลงทุนอัตรากำไรขั้นต้นบ่งบอกถึงความสามารถในการตั้งราคาขายสินค้าของกิจการ หรือการบริหารเกี่ยวกับต้นทุนขายของกิจการ ว่ากิจการสามารถตั้งราคาขาย หรือลดต้นทุนขายของกิจการให้สามารถทำรายได้ได้มากขึ้นหรือน่าดึงดูดการลงทุนมากน้อยเพียงใด

    ในขณะที่เจ้าของกิจการสามารถนำอัตรากำไรขั้นต้นมาวางแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับการตั้งหรือลดราคาขายสินค้า โดยที่ระวังไม่ให้ขาดทุนได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจการค้าปลีกที่กล่าวมาต้องการทำ Promotion ลดราคาสินค้า ทำให้ยอดขายลดลงไปที่ 500,000 บาท ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือเพียง 22% ซึ่งถือว่าลดลงไปมากกว่า 40% เลย หากกิจการไม่อยากให้ส่วนต่างของอัตราส่วนลดลงมาก ก็อาจคิดหาแผนในการลดต้นทุนขายให้ลดลงไปอีกได้ ซึ่งทำให้อัตราส่วนกำไรขั้นต้นไม่ลดลงไปถึง 22% ก็เป็นได้ โดยตัวเลขของอัตราส่วนทางการเงินนี้ก็สามารถช่วยให้กิจการระมัดระวังในการวางแผนเกี่ยวกับการตั้งราคาโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนได้   

    อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบอัตรากำไรขั้นต้น ควรเปรียบเทียบ GPM ในอุตสาหกรรมเดียวกันเป็นหลัก เนื่องจากพื้นฐานของสินค้าหรือบริการประเภทหนึ่งๆ ก็มีความแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สินค้าบางชนิด กิจการไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เองอย่าง น้ำมัน หรือธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับสินค้าบางประเภทที่มี Profit margin มาก เจ้าของกิจการก็อาจปรับราคาลงมาได้มากกว่าสินค้าที่มี Profit Margin น้อยๆ เป็นต้น

ในแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่แตกต่างกันไป การนำธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่ต่างกันมาเปรียบเทียบเพื่อหาบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันจึงไม่สามารถบอกได้ว่าธุรกิจใดดีกว่ากัน ดังนั้นนักลงทุนที่กำลังมองหาธุรกิจที่ดีสำหรับการลงทุน

การเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันโดยวัดจาก Gross Profit Margin จึงเป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นแรกของธุรกิจเท่านั้น การเลือกลงทุนในธุรกิจใดๆ ก็แล้วแต่นักลงทุนควรมีความเข้าใจพื้นฐานโครงสร้างของธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้นๆ อัตราส่วนต่างๆ ที่ใช้วิเคราะห์ เป็นตัวเลขที่ช่วยประกอบการพิจารณา

ในส่วนของเจ้าของกิจการ GMP ก็ควรจะเกาะกลุ่มตามมาตรฐาน GMP ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือมากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือเจ้าของกิจการ หากไม่เข้าใจธรรมชาติของอุตสาหกรรม ก็อาจทำให้การตีความหมายของอัตราส่วนที่สะท้อนถึงภาพรวมธุรกิจในทางที่ผิดได้เช่นกัน

  

 38917
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์