ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ตลอด/ครั้งเดียว

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ตลอด/ครั้งเดียว


ผู้ให้บริการไม่ยอมให้หัก ณ ที่จ่าย ทำอย่างไร ?

ผู้ให้บริการไม่ยอมให้หัก ณ ที่จ่าย อยากได้เงินเต็มจำนวน เรามีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย จะต้องทำอย่างไร ?
ออกหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้ โดยออกให้จำกัดจำนวน หรือออกให้ตลอดไป (ออกให้ทุกทอด)

 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แม้มิได้หัก ก็ต้องนำส่ง มาตรา 52* 

ดังนั้น จ่ายค่าบริการ จำนวน 50,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

คำนวณภาษีออกให้ตลอดไป ดังนี้
ออกให้ตลอดไป สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 50,000 x 3/(100-3) = 1,546.39 บาท
เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 50,000 + 1,546.39 = 51,546.39 บาท
เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 51,546.39 x 3% = 1,546.39 บาท
เงินที่ผู้รับจะได้รับ = 51,546.39 – 1,546.39 = 50,000 ( ผู้รับเงินจะได้รับเต็มจำนวน )



ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้รับเงินค่าจ้างต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องกรอกเงินได้ 51,546.39 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,546.39 บาท

ในช่องจ่ายเงิน ด้านล่าง จะต้องเลือกเป็น ภาษีออกให้ตลอดไป หรือ ภาษีออกให้ครั้งเดียว แล้วแต่กรณี

วิธีคำนวณแบบออกให้ครั้งเดียว
ออกให้ครั้งเดียว สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราปกติ = 50,000 x 3% = 1,500 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว = (50,000 + 1,500) x 3% = 1,545 บาท
เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 50,000 + 1,500 = 51,500 บาท
เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 51,500.00 x 3% = 1,545 บาท
เงินที่ผู้รับจะได้รับ = 51,500 – 1,545 = 49,955 ( ไม่นิยมใช้ เพราะผู้รับเงินจะได้รับไม่เต็มจำนวน )

*มาตรา 52 บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลซึ่งมีหน้าที่หักภาษีตามมาตรา 50(1) (2) (3) และ (4) ต้องนำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่จ่ายเงิน ไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่

ขอบคุณที่มา : https://pnkaccount.co.th

 486
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์