6 กรณี ภาษีซื้อต้องห้าม

6 กรณี ภาษีซื้อต้องห้าม




6 กรณี ภาษีซื้อต้องห้าม 

กรณีที่ 1 ไม่มีใบกำกับภาษี/ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีว่าชำระภาษีซื้อ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร

ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีมาแสดงเป็นหลักฐานได้ ซึ่งอาจเกิดจากการสูญหาย จะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ห้ามขอคืนหรือนำไปเครดิตภาษีขาย และห้ามถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

ยกเว้นกรณีมีเหตุอันสมควร ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้น

 

กรณีที่ 2 ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้อง/ไม่สมบูรณ์ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

เมื่อได้รับใบกำกับภาษีเต็มรูปจากผู้ขาย/ให้บริการ ต้องตรวจสอบดูว่าใบกำกับภาษีซื้อนั้นมีข้อความครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ (ตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4) อาทิ มีคำว่าใบกำกับภาษี, มีชื่อ-ที่อยู่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี, มีชื่อ-ที่อยู่ผู้ซื้อ/รับบริการ เป็นต้น ผู้ประกอบการจึงจะมีสิทธิ์ขอภาษีซื้อคืนได้ ไม่ต้องห้าม

 

กรณีที่ 3 ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ

รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการดำเนินกิจการหรือเนื่องจากการดำเนินกิจการ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามและภาษีซื้อต้องห้าม ต้องนำไปปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ) ในแบบ ภ.ง.ด.50

 

กรณีที่ 3 ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ

รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการดำเนินกิจการหรือเนื่องจากการดำเนินกิจการ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามและภาษีซื้อต้องห้าม ต้องนำไปปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ) ในแบบ ภ.ง.ด.50

กรณีที่ 4 ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

กรณีที่ 5 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี

กรณีที่ 6 ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี


Cr: https://www.dharmniti.co.th/

 241
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์