รู้หรือไม่? เราสามารถผ่อนจ่าย"ภาษี"ได้

รู้หรือไม่? เราสามารถผ่อนจ่าย"ภาษี"ได้



ใกล้สิ้นปี ถึงเวลาคำนวณภาษีกันแล้ว สำหรับใครที่คิดว่าปีนี้ยอดภาษีสูง และวางแผนหาสิทธิ์ลดหย่อนไม่ทัน สามารถเลือกเสียภาษีแบบผ่อนชำระได้ ซึ่งนอกจากจะไม่มีดอกเบี้ยแล้ว ยังดำเนินการรับสิทธิ์ตอนยื่นภาษีได้ทางออนไลน์บนเว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th ที่สะดวกและรวดเร็วอีกด้วย

เงื่อนไขการขอ"ผ่อนภาษี" ต้องทำอย่างไร
  • ผู้มีรายได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ถ้ามีภาษีต้องจ่ายเพิ่ม สามารถผ่อนชำระได้ โดยไม่เสียดอกเบี้ย
  • ภาษีที่ผ่อนชำระได้ ต้องมียอดตั้งแต่ 3,000 บาท ขึนไป
  • ผ่อนชำำระภาษีได้3งวด เท่าๆกัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • รับสิทธิตอนยื่นภาษีได้ทั้งในระบบออนไลน์บนเว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th และยื่นแบบกระดาษได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่

วิธีผ่อนชำระ 
   สรรพากรได้กำหนดวิธีผ่อนชำระไว้ 2 รูปแบบ ดังนี้
  • กรณียื่นแบบกระดาษ
         - ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา พร้อมเอกสาร บ.ช.35 จำนวน 1ชุด 3แผ่น
         - จ่ายภาษีงวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบภายใน 30 กันยายน หรือ31มีนาคม
         - จ่ายภาษีงวดที่ 2 ชำระภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ชำระงวดที่ 1 
         - จ่ายภาษีงวดที่ 3 ชำระภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ชำระงวดที่ 2 
  • กรณียื่นแบบออนไลน์
          สามารถเลือกผ่อนชำระได้โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ชำระทั้ง 3 งวด ซึ่งงวดที่ 3 และ 3 ระบบจะให้พิมพ์
       เอกสารการชำระเงินภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ได้ชำระงวดก่อนแล้ว


ช่องทางการผ่อนภาษี
  1. จ่ายผ่านระบบ E-PAYMENT ผ่านบัตรเครดิต และบัตรเดบิต
  2. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ของธนาคาร และจุดชำระเงินต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ
  3. จ่ายผ่านสรรพากรในพื้นที่
  4. จ่ายผ่านทางช่องทางอื่น โดยการนำข้อมูลจาก Pay in slip ที่ระบุรายละเอียดเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13หลัก และรหัสควบคุม15หลัก พร้อมยอดที่ต้องเสีย โดยจ่ายผ่าน
       - Internet Banking / Mobile Backing / Phone Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
       - ตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
       - เครื่องรับฝากเงินสดของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ


ถ้าหยุดจ่ายจะเกิดอะไรขึ้น!!
  • ถ้าจ่ายไม่ตรงหรือยุดจ่ายงวดใดงวดหนึ่ง สิทธิในการผ่อนำระจะหยุดลงทันที
  • และต้องชำระค่าภาษีที่ค้างอยู่ทั้งหมด พร้อมทั้งเสียเงินเพิ่มร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือด้วย


Cr: https://www.dharmniti.co.th
 280
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์