เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง




การเก็บภาษีย้อนหลัง คืออะไร?....มาทำความเข้าใจกัน

การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) จะเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะเป็นการป้องปรามทางภาษีอากร โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะดำเนินการโดย 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี คือ

  • กรมสรรพากร
  • กรมศุลกากร
  • กรมสรรพสามิต

ทำไมถึงโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ?

ยังไม่ได้จ่ายภาษี

จ่ายภาษีไม่ถูกต้อง

    – จ่ายภาษีไม่ครบ
    – ระบุรายได้ไม่ถูกต้อง
    – โดนเรียกจ่าย VAT ย้อนหลัง
    – หรือ ตั้งใจจะหลีกเลี่ยงภาษี ?

วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร

  1. การออกตรวจเยี่ยม คือ การออกไปตรวจเยี่ยมผู้เสียภาษีด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเจอในกลุ่มผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจมากกว่า
  2. การตรวจนับสต็อกสินค้า ใช้กับผู้ที่ทำธุรกิจการค้าขายทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งการนับสต็อกสินค้าจะทำให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้เสียภาษีครบถ้วนหรือไม่ นั่นเอง
  3. การสอบยันใบกำกับภาษี การทำ ใบกำกับภาษีปลอม เป็นอีกหนึ่งวิธีหลีกเลี่ยงภาษียอดฮิต ดังนั้น กรมสรรพากรจึงใช้วิธีการตรวจสอบภาษีด้วยการสอบยันใบกำกับภาษี เพื่อดูว่ามีการปลอมขึ้นมาบ้างไหม จากนั้นจึงคิดคำนวณภาษีที่ถูกหลีกเลี่ยงไปพร้อมกับเรียกเก็บย้อนหลังค่ะ
  4. การตรวจคืนภาษี วิธีนี้จะใช้ตรวจภาษีกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นวิธีที่ทางกรมสรรพากรจะใช้บ่อยมาก
  5. การตรวจค้น วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีจำนวนมากและชัดเจน โดยจะเข้าทำการตรวจค้นเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมทั้งยึดและอายัดบัญชีรวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีไว้ด้วย
  6. การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี กรมสรรพากรจะทำการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษี โดยผู้เสียภาษีจะต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารต่างๆ ให้พนักงานทำการตรวจสอบ ซึ่งหากพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีก็จะดำเนินการเรียกคืนภาษีย้อนหลังต่อไป

การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่?

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

มีอายุความตามหมายเรียก ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี แต่ถ้ามีหลักฐานว่าบุคคลนั้นจงใจ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี จริง จะสามารถขยายเวลาขออายุความไปได้ถึง 5 ปี ค่ะ

  • ภาษีธุรกิจ

สามารถเรียกเก็บย้อนหลังได้มากถึง 10 ปี ตาม มาตรา 193/31 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  โดยไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกแต่อย่างใด ซึ่งอายุความเรียกเอาหนี้ภาษีอากรคืน จะนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการยื่นแบบภาษีค่ะ

ลืมยื่นภาษี / ยื่นภาษีล่าช้า เจอโทษอะไรบ้าง ?

1. ไม่ยื่นแบบ/ยื่นแบบไม่ทัน

    • เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
    • ถ้าอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย
    • มีโทษปรับอาญา 2,000 บาท

2. ยื่นแบบ แต่แสดงรายการไม่ถูกต้อง / ไม่บริบูรณ์

    • เสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของภาษีที่จ่าย

ยื่นแบบ หลังกำหนด เพิ่มเติม ถ้ามีภาษีที่ต้องเสีย เสียเงินเพิ่ม 1.5% ของเงินภาษีที่ต้องจ่าย
เพิ่มเติม กรณีจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

3. เจตนาไม่ยื่นรายการ (ละเลย) เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี

    • จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • ถ้าเลยกำหนดยื่นแบบ และเจ้าหน้าที่เรียกแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตาม
    • ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
    • ถ้าอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย

4. เจตนาแจ้งข้อความเท็จ / แสดงหลักฐานเท็จ หรือฉ้อโกง (หนี) เพื่อพยายามหลีกเลี่ยงภาษี / ขอคืนภาษี

    • โทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 -200,000 บาท
    •  ถ้าเลยกำหนดยื่นแบบ และเจ้าหน้าที่เรียกแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตาม
    •  เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
    •  ถ้าอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย

ไม่อยากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ทำอย่างไรได้บ้าง

  1. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารเกี่ยวกับรายรับของตนเองให้เรียบร้อยก่อนยื่นภาษี
  2. ตรวจสอบดูว่ารายรับของเราอยู่ในเงินได้ประเภทไหนกันแน่ (เนื่องจากมันมีผลกับการหักค่าใช้จ่ายค่ะ)
  3. ตรวจสอบรายการลดหย่อน ที่มีสิทธิใช้ (เนื่องจากมีผลกับยอดคงเหลือเงินได้สุทธิ)
 596
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์