Reskill Upskill คือ ทางรอดใหม่สำหรับองค์กร

Reskill Upskill คือ ทางรอดใหม่สำหรับองค์กร

Reskill Upskill คือ ทางรอดใหม่สำหรับองค์กร

หลังจากที่โลกเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ การปรับตัวของโลกธุรกิจที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น เพื่อทดแทนการทำงานของมนุษย์ หรือช่วยให้พนักงานและบุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้องค์กรเหล่านั้น สามารถเอาตัวรอดในยุค Digital Disruption ไปได้

ในขณะที่องค์กรต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ด้านพนักงานเองก็ได้รับผลกระทบจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเช่นกัน เพื่อความอยู่รอดของทั้งองค์กรและพนักงาน การ “Upskill และ Reskill” ที่จำเป็นต่อธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรและพนักงานต้องให้ความใส่ใจอย่างยิ่ง

นิยามของคำว่า Reskill Upskill คืออะไร ในปัจจุบัน

Upskill คืออะไร

 Upskill คือ การพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่จะช่วยต่อยอดสายอาชีพที่กำลังทำอยู่ เพื่อให้สามารถทำงานได้ง่าย รวดเร็ว และมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

Reskill คืออะไร

 Reskill คือ การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในสายอาชีพอื่น ๆ เพื่อที่จะได้สามารถเปลี่ยนสายงาน หรือปรับตัวให้เข้ากับสายงานใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เป็นอีกตัวช่วยในการลดความเสี่ยงในการตกงานได้ ในโลกที่มีความแข่งขันสูงขึ้นในปัจจุบัน

การ Upskill และ Reskill มีข้อดีอย่างไร

   โลกของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สายงานบางสายงานอาจถูกเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่จนไม่จำเป็นอีกต่อไป หรืออาจมีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นในทุกวัน เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานสมัยใหม่ ที่เน้นความรวดเร็ว และประสิทธิภาพ การ Upskill และ Reskill อยู่เสมอ จะช่วยให้องค์กร และพนักงานมีความรู้ความสามารถเท่าทันความต้องการของสายงาน และสามารถเอาตัวรอดกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจได้ทันท่วงที

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์ควรคำนึงถึงการ Upskill และ Reskill

   มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยี การขาดแคลนกำลังคนในสายงานใหม่ ๆ หรือแม้แต่การขาดความเข้าใจในทักษะการทำงานที่จำเป็นของคนในองค์กร ซึ่งองค์กรควรให้ความสำคัญ และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ด้วยการจัดการ Upskill และ Reskill ของบุคลากรอย่างเหมาะสม

   1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในที่มีผลกระทบต่อแรงงานมนุษย์

      มีหลายองค์กร โดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรมที่มีการนำหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์ ส่งผลให้ความต้องการในตลาดแรงงานมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การทำงานของหุ่นยนต์และเครื่องจักร ก็ยังคงต้องอาศัยการควบคุมของมนุษย์อยู่ดี

     ดังนั้นองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการ Upskill และ Reskill ให้กับบุคลากรในองค์กร เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่องค์กรนำมาเข้ามาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

   2. การขาดแคลนกำลังคนในสายงานใหม่

      แม้ว่าในหลาย ๆ สายงานจะมีการนำเครื่องจักร และระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้สายงานเก่า ๆ ถูกลดบทบาทลง แต่ก็มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย เพื่อรองรับการควบคุมระบบอัตโนมัติ ให้สามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

      เพื่อแก้ไขการขาดแคลนกำลังคนในสายงานใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนี้ องค์กรควรจัดอบรมการ Upskill และ Reskill ที่จำเป็นต่อการทำงานใหม่ ๆ ให้กับบุคลากร เพื่อที่พนักงานจะได้ปรับตัวเข้ากับรูปแบบงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี ทำให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

   3. การลดช่องว่างทางทักษะระหว่างหัวหน้าและบุคลากรภายในทีม

      ช่องว่างทางทักษะระหว่างหัวหน้าและบุคลากรภายในทีม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพราะมีหลายครั้งที่หัวหน้าและบุคลากรภายในทีม มีความเข้าใจในทักษะการทำงานที่ไม่ตรงกัน เช่น หัวหน้ามองว่าบุคลากรในทีมขาดแคลนทักษะการสื่อสาร การเป็นผู้นำ หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น ในขณะที่บุคลากรกลับมองว่าตนเองมีทักษะด้านผู้นำที่ดีกว่า

      สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจในทักษะของแต่ละคน และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานร่วมกันในอนาคตได้ องค์กรจึงควรให้ความสำคัญในการลดช่องว่างทางทักษะระหว่างหัวหน้าและบุคลากรภายในทีม เพื่อที่พวกเขาจะได้มีความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น โดยการจัดการวัดระดับทักษะของแต่ละคน และจัดอบรมการ Upskill และ Reskill ให้เหมาะสม

การนำวิธี Upskill และ Reskill เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจและองค์กร

   การนำวิธี Upskill และ Reskill เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจและองค์กรไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายครั้งที่การจัดการอบรม Upskill และ Reskill ไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ควร เพื่อให้การจัดประสิทธิภาพสูงสุด องค์กรจึงควรใส่ใจในทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง

   1. ลงทุนกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อช่วยต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ

      การที่องค์กรลงทุนพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลากรในองค์กรให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ย่อมส่งผลให้องค์กรก้าวหน้าตามไปด้วย ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่ช่วยให้แผนกทรัพยากรมนุษย์และฝ่ายบุคคล (Human Resource: HR) สามารถวางแผนพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพได้

   2. จัดหลักสูตรหรือการอบรมเพื่อช่วยพัฒนาบุคลากร

      การจัดหลักสูตร Upskill และ Reskill ในการพัฒนาบุคลากร จะขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรและความต้องการของบุคลากรเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่แล้ว การ Upskill และ Reskill มักจะให้ความสำคัญกับทักษะด้านเทคโนโลยี เช่น ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data Analysis) หรือความเข้าใจและใช้เทคโนโลยี (Digital Literacy)

      นอกจากการจัดการอบรมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรควรให้สำคัญคือการสร้างช่องทางในการเรียนรู้ที่สะดวกต่อผู้เรียน ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างช่องทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น Website, Facebook Group, Google Meet, Zoom, หรือ Microsoft Team เป็นต้น

   3. ในมุมของบุคลากรเองก็ควรใส่ใจกับการ Upskill ด้วยเช่นกัน

      ไม่จำเป็นต้องรอให้องค์กรจัดการอบรม Upskill ให้ฝ่ายเดียว พนักงาน/บุคลากรก็ควรที่จะหาคอร์สเรียนเพื่อ Upskill และ Reskill ให้เหมาะกับตนเอง เพราะตัวของพนักงานจะรู้ดีที่สุดว่า ตนเองขาดแคลนทักษะใด และจำเป็นต้องพัฒนาส่วนไหนเพื่อที่จะส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ประโยชน์ของการ Upskill และ Reskill ที่มีต่อองค์กรและบุคลากร

   การ Upskill และ Reskill อยู่เสมอ ล้วนเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวองค์กรและบุคลากร ในด้านขององค์กรก็จะได้พนักงานที่มีทักษะในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรพัฒนาเติบโตไปได้อย่างรวดเร็ว 

 260
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์