มั่งคั่งด้วยภาษี

มั่งคั่งด้วยภาษี





      

          การใช้ชีวิตอยู่อย่างสบาย ในบั้นปลายของชีวิตหลังเกษียณอายุงานแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ที่จะมีชีวิตอยู่โดยมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่าย กินอยู่ รักษาตัว เมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ต้องอาศัยพึ่งพาคนอื่น

การจะอยู่ได้เช่นนั้น แม้จะไม่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ก็ไม่ได้ยากเย็นจนไม่สามารถไปถึงได้แต่จะต้องกำหนดเป้าหมาย มีความอดทน และมีวินัย ดังนั้นการวางแผนทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับไปให้ถึงเป้าหมายนี้

          การวางแผนทางการเงิน เพื่อไปสู่จุดหมายที่เราตั้งใจนั้น ไม่ได้มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับความต้องการปัจเจกบุคคล แต่เราควรจะกำหนดสัดส่วนการออมให้ชัดเจนว่า ออมเท่าไหร่ เงินเหลือจากออมจึงนำมาใช้จ่าย ไม่ใช่ใช้ก่อนเหลือเท่าไหร่จึงจะเก็บเป็นเงินออม

ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากการหักลดหย่อนเงินภาษีเงินได้ เป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ซึ่งก็เป็นเคล็ดลับหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพูนการออมได้อย่างดีมากทีเดียว

การบริหารภาษีเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และทำได้เลยโดยไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในทางที่ถูกต้อง จะช่วยสร้างความมั่งคั่งให้กับเราได้มากพอดู

 

เงินเพิ่มพูนจากการฝากเงิน

          หากมีเงินออมอยู่ก้อนหนึ่ง เราอาจจะย้ายเงินฝากจากบัญชีออมทรัพย์ ที่แม้จะไม่เสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากหากรายได้ดอกเบี้ยมีไม่เกิน 2 หมื่นล้าน แต่ก็ได้ดอกเบี้ยเงินฝากเพียง 1-2% ไปไว้ในบัญชีเงินฝากประจำแบบมีระยะเวลา จะเป็นแบบ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็ได้ ซึ่งจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ แต่การฝากเงินแบบนี้จะต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากในอัตรา 15% แต่ดอกเบี้ยที่เสียไปนี้เราสามารถขอคืนภาษีได้ ด้วยการนำดอกเบี้ยเงินฝากถูกหักภาษีในอัตรา 15% ไปรวม คำนวณภาษี ในบางกรณีก็อาจจะได้ภาษีคืน

         นอกจากนี้ เรายังสามารถโยกเงินฝากออกไปฝากประจำแบบปลอดภาษี เป็นเงินฝากระยะยาว 24 เดือน แต่มีเงื่อนไขจะต้องฝากเงินต่อเนื่องในจำนวนที่เท่ากันทุกเดือน แต่ละครั้งจะฝากได้สูงสุดไม่เกิน 2.5 หมื่นบาทต่อเดือน แต่หากถอนก่อนครบกำหนดตามเงื่อนไข ผู้ฝากเงินก็จะได้ดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น

การฝากเงินปลอดภาษีนี้ สามารถฝากได้ตลอดชีวิต คือ เมื่อครบ 2 ปี ก็สามารถที่จะเปิดบัญชีใหม่ ฝากเงินสมทบเข้าไปได้อีก

เงินงอกเงยจากการลงทุนในตลาดทุน

          นอกจากจะฝากเงินฝากระยะยาวแล้ว เรายังสามารถที่จะนำเงินออมแยกไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งให้ผลตอบแทนสุทธิสูงกว่าการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ประมาณ 3-4% นอกจากนี้ ยังไม่เสียภาษีเงินได้ผลตอบแทนจากการลงทุนโดยความเสี่ยงของเงินกองทุนประเภทนี้มีไม่สูงจนรับไม่ได้ เนื่องจากกองทุนประเภทนี้จะนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตร รัฐบาลระยะสั้น หรือฝากธนาคารซึ่งรัฐบาลยังค้ำประกันทั้งต้นทั้งดอกเบี้ย

          บางคนที่รักความเสี่ยง แบบ Hight Risk High Return ก็ลงทุนในตลาดหุ้นโดยตรงด้วยการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ และซื้อขายหุ้นเอง ซึ่งผลกำไรที่ได้จากการขายหุ้นนั้นไม่ต้องเสียภาษี การลงทุนในหุ้นนั้นมีผลพลอยได้เกิดขึ้นในรูปของเงินปันผล ซึ่งเงินปันผลนี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของรายได้ แต่เราสามารถที่จะขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่ถ้าหากผู้ที่ซื้อหุ้น ซื้อหุ้นจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเงินปันผลที่จ่ายไม่ต้องหักภาษีเพราะผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผลจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ และไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด


รวยด้วยกองทุนรวม

ออมเงิน/ลงทุนกับกองทุน LTF และ RMF โดย KBank (ตอนที่ 1)

         คนที่ไม่นิยมความเสี่ยง ก็ไม่ควรจะเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเอง แต่มีทางเลือกในการลงทุนให้ ด้วยการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ (RMF)
กองทุนรวมทั้ง 2 ประเภทนั้น มีความเหมือนกันตรงที่ รัฐยอมให้นำเงินลงทุนใน LTF และ RMF มาหักลดหย่อนภาษีได้กองทุนละไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 3 แสนบาทต่อปี

         ทั้งนี้ ควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน เงื่อนไขสำคัญสำหรับการลงทุนใน RMF คือต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีเว้นปี และจะออกได้ต่อเมื่ออายุ 55 ปี และลงทุนมาแล้วเกิน 5 ปี หากออกไปก่อนก็ต้องคืนภาษีที่หักลดหย่อนไปแล้วแก่รัฐ แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนโยกย้ายกองทุนได้ หากเห็นว่าได้ประโยชน์มากกว่า

มารู้จักกองทุน LTF และ RMF โดย KBank (ตอนที่ 2)

          หากไปซื้อกองทุนที่จ่ายเงินปันผล ก็สามารถนำเงินปันผลมาเครดิตภาษีคืนได้ ยิ่งใครฐานภาษีต่ำ ยิ่งขอเครดิตภาษีคืนได้มากขึ้น กรณีที่ผู้ถือหุ้นมีฐานภาษีอยู่ที่ 10% สามารถขอคืนภาษีได้ถึง 27% ส่วนคนที่ไม่ต้องเสียภาษีเลย อาจขอภาษีเงินปันผลที่เสียไว้แล้วคืนได้ทั้งหมด

         ขณะที่ LTF บังคับให้ถือเพียง 5 ปี และไม่ต้องลงทุนต่อเนื่อง
ผู้บริหารกองทุนรวมต่างๆ แนะนำว่า ผู้ที่ควรซื้อกองทุนรวมทั้ง 2 ประเภทนี้ก็คือ คนที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 20% ขึ้นไป

ยกตัวอย่างเช่น
หากลงทุนใน LTF ปีละ 1 แสนบาทท่านที่เสียภาษีในอัตรา 30% จะได้ภาษีคืนถึง 3 หมื่นบาท เมื่อครบกำหนด 5 ปีที่ถอนการลงทุนได้ ท่านก็นำเงินก้อนเดิมกลับไปลงทุนได้อีกรอบ วิธีนี้ถ้าทำ 5 รอบ จะได้ภาษีคืนถึง 1.5 แสนบาทเลยทีเดียว

เพิ่มความมั่นคงด้วยประกันชีวิต

          เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า การทำประกันชีวิตสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 5 หมื่นบาท(เมื่อปี 2549) ดังนั้น ผู้ที่เสียภาษีในอัตราสูงน่าที่จะเข้าศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งประกันภัยที่จะหักลดหย่อนภาษีได้ต้องซื้อก่อนวันสิ้นปี และกรมธรรม์ต้องมีอายุเกิน 10 ปีเท่านั้น


ซื้อบ้านก็หักลดหย่อนภาษีได้

          ผู้ที่เริ่มต้นสร้างชีวิตใหม่ ซื้อที่อยู่อาศัยแบบเงินผ่อน ดอกเบี้ยซื้อบ้านนั้นรับยอมให้นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 5 หมื่นบาท (เมื่อปี 2549) แต่มีเงื่อนไขผู้หักลดหย่อนภาษีต้องมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน

ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

          กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเงินออมแบบผูกพันระยะยาว ที่กฎหมายออกมาให้เป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้าง เพื่อใช้ยังชีพยามเกษียณอายุ หรือพ้นจากวัยทำงาน โดยกฎหมายกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างสมทบเงินเข้ากองทุนในสัดส่วนที่เท่ากัน

สำหรับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนโดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีนั้น และสูงสุดถึง 3 แสนบาท

มั่งคั่งจากการประหยัดภาษี

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าเราจะเพิ่มเงินออมได้จากการประหยัดภาษีอย่างไร ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณการเสียภาษีที่เข้าใจได้ง่ายๆ คือ

หากท่านเสียภาษีเงินได้ฯ ในอัตรา 30% และมีเงินได้เกินปีละ 2 ล้านบาท ท่านสามารถใช้สิทธิซื้อ RMF และ LTF กองละ 3 แสนบาท ตลอดจนใช้สิทธิซื้อประกันชีวิตและเสียดอกเบี้ยซื้อบ้านอีกอย่างละ 5 หมื่นบาทต่อปี รวมแล้วหักลดหย่อนได้ถึงปีละ 7 แสนบาท ซึ่งจะสามารถขอภาษีคืนได้ถึง 2.1 แสนบาท หากท่านทำต่อเนื่องเพียง 5 ปี ภาษีที่ท่านประหยัดได้จะเท่ากับ 1.05 ล้านบาท

 


ที่มา : www.pattanakit.net

 559
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์