นายจ้าง-ลูกจ้างควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อต้องย้ายสถานประกอบกิจการ

นายจ้าง-ลูกจ้างควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อต้องย้ายสถานประกอบกิจการ





          การดำเนินธุรกิจต่างๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งหรือมีเหตุการณ์บางอย่างเข้ามา แน่นอนว่าย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับองค์กรและลูกจ้างพนักงานภายในโดยตรง โดยเฉพาะการขยับขยาย หรือการโยกย้ายสถานประกอบกิจการ

การย้ายสถานประกอบกิจการ เป็นการดำเนินการที่นายจ้างตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน หรือโยกย้ายสถานที่ทำงานทั้งหมดไปตั้งยังสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ที่เดิม

การย้ายสถานประกอบกิจการส่งผลอย่างไร?

          ปัจจัยสำคัญประกอบการเข้าทำงานในสถานที่ใดที่หนึ่งนั้น นอกจากตำแหน่งงานที่ตรงคุณสมบัติ เงินเดือน สวัสดิการต่างๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ที่ลูกจ้างเลือกใช้ประกอบการตัดสินใจคือทำเลที่ตั้งของที่ทำงาน ที่ไม่ห่างจากที่พักมากนัก เดินทางได้สะดวก และควบคุมค่าเดินทางในงบที่วางไว้ได้

การที่นายจ้างตัดสินใจโยกย้ายที่ตั้งสถานประกอบกิจการ อาจมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวได้ ดังนี้

  •  สถานที่ตั้งใหม่อยู่ไกลบ้าน
  •  ไม่มีสถานที่พักหรือที่อยู่อาศัยรองรับ
  •  เสียงบประมาณเพิ่มหากต้องโยกย้ายที่อยู่
  •  ไม่สะดวกกับการเดินทาง
  •  ใช้เวลาเดินทางนาน
  •  ค่าเดินทางไม่คุ้มกับเงินเดือนที่ได้รับ
  •  ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของลูกจ้างกับสมาชิกครอบครัว

 

นายจ้างควรทำอย่างไรเมื่อต้องย้ายสถานประกอบกิจการ

  •  แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์ย้าย ก็มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118
  •  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หากไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการ
  •  จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

 

สิทธิ์-หน้าที่ลูกจ้างเมื่อไม่ประสงค์ไปทำงานในสถานประกอบกิจการใหม่

  •  แจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
  •  ได้รับค่าชดเชยการย้ายสถานประกอบการ
  •  ได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากรณีนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้า

 

ค่าชดเชยการย้ายสถานประกอบการ

ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างมีการย้ายสถานประกอบการโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดหรือไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย ตามอัตราส่วน ดังนี้


การย้ายสถานประกอบกิจการเป็นสิทธิ์ที่นายจ้างสามารถทำได้ภายใต้ข้อกำหนดและการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เป็นเหตุสร้างความเดือนร้อนกับลูกจ้างที่ไม่สามารถโยกย้ายตามไปปฏิบัติงานต่อที่ใหม่ได้




ที่มา : www.dharmniti.co.th
 2032
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์