สัญญาเงินกู้เจ้าหนี้ต้องทำลูกหนี้ต้องรู้

สัญญาเงินกู้เจ้าหนี้ต้องทำลูกหนี้ต้องรู้





 

การกู้ยืมเงิน

          การกู้ยืมเงินไม่ใช่แค่การกู้กับธนาคารเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น ๆ เช่น บุคคลทั่วไป คนใกล้ชิด หรือเพื่อน หากมีจำนวนเงินมากกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป และมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายใต้กฎหมายกำหนดจำเป็นจะต้องทำ “สัญญาเงินกู้”

สัญญาเงินกู้

          เป็นหลักฐานหนึ่งที่ใช้ประกอบการกู้ ซึ่งเกิดจาก ผู้กู้” และ ผู้ให้กู้” เป็นเอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่า คน ๆ หนึ่งได้ทำสัญญาว่า กู้ยืมเงินกัน” มาเป็นจำนวนเท่าไหร่ มีอัตราดอกเบี้ยอย่างไร และผู้กู้จะใช้คืนภายในเวลาใด หากมีฝ่ายใดกระทำผิด อีกฝ่ายมีสิทธิ์ดำเนินการตามกฎหมายได้

การกู้ยืมจะมีผลต่อเมื่อ “มีการส่งมอบเงิน” ให้แก่ผู้ยืมและสัญญาจะมีผลบังคับใช้ได้ทันที เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงลงนามยินยอมในสัญญา

สัญญาเงินกู้ = สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

  • ผู้ให้กู้โอนกรรมสิทธิ์ในเงินนั้นให้แก่ผู้ยืม
  • ผู้ยืมต้องคืนเงินจำนวนเท่ากันให้แทนเงินที่ยืมไป
  • สัญญายืมเงินสมบูรณ์เมื่อส่งมอบเงินที่ยืม

สัญญากู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระ

ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระเงินได้ทันที ตามมาตรา 203

สัญญากู้มีกำหนดระยะเวลา

ผู้ให้กู้จะเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่ผู้กู้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องทายาทของผู้กู้ได้ทันทีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ตามมาตรา 1754

ข้อกำหนดในการทำสัญญาเงินกู้

  • ระบุจำนวนเงินต้นที่กู้ยืมให้ชัดเจน

ต้องมีความชัดเจน ไม่กำกวม ทั้งในรูปแบบตัวเลขและตัวอักษร

  • ระบุอัตราดอกเบี้ย

ระบุอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน เพื่อความเป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย

  • ระยะเวลาในการชำระหนี้

ผู้ชำระหนี้ต้องชำระภายในวันใด เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องระบุไว้ในสัญญาเพราะเป็นหลักฐานสำคัญในการฟ้องร้องเอาความได้

  • วันที่ทำสัญญา

เป็นส่วนที่กำหนดว่า ระยะเวลาใดคือวันที่เริ่มต้นกู้ยืมเงิน

  • พยานในการกู้ยืมเงิน

ข้อกำหนดหรือรายละเอียดในการกู้ยืมเงิน ต้องมีพยานจากทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อยืนยันว่าสัญญาที่ทำขึ้นมีความเป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย

  • ลายมือชื่อผู้กู้และผู้ให้กู้

เพื่อยืนยันว่าบุคคลนั้น ๆ ทำการกู้และให้กู้ด้วยตนเอง

โครงสร้างของสัญญาเงินกู้  แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1.ส่วนนำ ประกอบด้วย

  • ชื่อสัญญา
  • สถานที่ทำสัญญา
  • วันที่ทำสัญญา
  • ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา

2.ส่วนเนื้อหาประกอบด้วย

  • วัตถุประสงค์ในสัญญา
  • ดอกเบี้ย
  • กำหนดการชำระหนี้
  • ผลของการผิดนัดชำระหนี้

3.ส่วนลงท้าย ประกอบด้วย

  • ข้อความส่วนท้ายของสัญญาดอกเบี้ย
  • ลายมือชื่อของคู่สัญญา
  • พยานในการทำสัญญา

อัตราดอกเบี้ย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654

ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ คือ ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หากเกินที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยจะเป็นโมฆะ แต่เงินต้นยังคงสมบูรณ์

กรณีกำหนดดอกเบี้ยไว้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีผลดังนี้

  • เป็นความผิดอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมด

ฟ้องบังคับคดีไม่ได้ (เงินต้นยังคงสมบูรณ์)

  • ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ยืมชำระไปแล้ว

ไม่สามารถเรียกคืนไม่ได้

  • ดอกเบี้ยผิดนัด ผู้ให้กู้ยืมยังคงบังคับได้

แม้ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะตกเป็นโมฆะ

 

 

ที่มา : www.dharmniti.co.th

 1497
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์