ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง

ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง





 

          กล่าวถึงเหตุผลทั่วไปในการที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ความว่า ประการแรก เป็นหน้าที่และหากไม่ปฏิบัติตามอาจต้องได้รับโทษานุโทษตามกฎหมาย ประการต่อมา ถือเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้อันเป็นหลักธรรมาภิบาล และประการสุดท้าย เป็นเครื่องหมายของผู้ที่มีความกตัญญูต่อแผ่นดิน 

 

          หากมองให้ลึกลงไปอีก นอกจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ยื่นแบบแสดงรายการได้รับประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าวอย่างไรบ้าง ลองฟังดูนะครับ

          1. การที่ได้เสียภาษีเงินได้ โดยเฉพาะได้เสียอย่างถูกต้อง ย่อมทำให้ผู้มีเงินได้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นค่านิยมของสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

มีการพูดคุยในหมู่ผู้ที่นิยมความดีงามความถูกต้อง ได้ความว่า การตั้งใจเสียภาษีให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานหรือเครื่องหมายของคนดีมีจริยธรรม ไม่ต้องพะวงต่อการตรวจสอบโดยสังคม และเจ้าพนักงานสรรพากร อันเป็นแนวคิดเชิงบวก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้มีเงินได้ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการมีความคิดที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งปวงด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กอปรด้วยความชอบธรรมเป็นนิจ

นักเรียกร้องประชาธิปไตยทั้งหลาย น่าจะใช้เกณฑ์นี้เป็นมาตรฐาน โดยมองจากตนเองก่อนว่าเข้าเกณฑ์เป็นคนดีของสังคมจริงหรือไม่ เพราะสังคมของคนดีแท้จริงจะไม่ยอมรับนับถือ ยกย่องคนที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร

          2. ผู้ที่เสียภาษีถูกต้อง ย่อมสามารถถ่ายทอดความภาคภูมิใจไปยังลูกหลานเพื่อปลูกฝังแนวความคิดหรือปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่ดีให้แก่ลูกหลานของท่านผู้มีเงินได้ได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นในครอบครัว

          3. การที่ได้เสียภาษีเงินได้และภาษีอากรประเภทอื่น ๆ นั้น อาจกล่าวได้ว่าไม่ต่างไปจากการบริจาคหรือการเสียสละทรัพย์ในส่วนของตน ซึ่งโดยปกติทั่วไปถือเป็นของรักของหวง ซึ่งหากตัดใจเสียสละอย่างแท้จริง ก็เท่ากับได้ฝึกปฏิบัติธรรมไปในตัว

ในทางเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นการกระจายรายได้จากผู้ที่มั่งมีไปสู่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ก่อให้เกิดความเป็นธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ประเทศชาติบ้านเมืองให้มีแต่ความสุขสงบร่มเย็น ไม่คิดเบียดเบียนกันและกัน

          4. เม็ดเงินภาษีที่รัฐได้รับ ถูก นำกลับคืนสังคมในรูปของสาธารณูปโภค เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การชลประทาน สวัสดิการด้านพลานามัย เช่น โรงพยาบาล ความมั่นคงทั้งภายในและภายนอก เช่น ตำรวจ ทหาร และบริการของรัฐในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การศึกษา การส่งเสริมให้ประกอบสัมมาอาชีพอย่างเสรี เป็นต้น

 
          แนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรไม่แสวงหากำไรประเภทต่างๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการไปแล้วกับสองสถาบัน คือ สหกรณ์ออมทรัพย์และวัด

          กรณีสหกรณ์ออมทรัพย์ มูลนิธิฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ร่วมสนับสนุนด้านวิชาการ จัดหลักสูตรอบรมธรรมาภิบาลแก่กรรมการและผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ตามแนวปฏิบัติด้านธรรมาภิบาล 9 ข้อที่มูลนิธิฯ จัดทำขึ้นข้างต้น ซึ่งประสบความสำเร็จมาก ปีที่แล้วมีการอบรมให้กับกรรมการกว่า 300 คนจากสหกรณ์ออมทรัพย์ 18 แห่งทั่วประเทศ การอบรมจะมีต่อเนื่องในปีนี้

          สำหรับวัด มูลนิธิฯ ได้จัดทำร่างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารวัดในพระพุทธศาสนา และคู่มือการกำกับดูแลวัด ภายใต้โครงสร้างการกำกับดูแลที่แยกการกำกับดูแลออกจากการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ขณะนี้มูลนิธิฯ กำลังหารือกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เพื่อปรับปรุงร่างให้เป็นที่ยอมรับ พร้อมเสนอรายละเอียดของระบบบัญชี ระบบควบคุมภายในและการรายงาน เพื่อการนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ และเป็นต้นแบบให้มีการนำไปปฏิบัติใช้ในวงกว้าง



ที่มา : www.pattanakit.net

 899
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์