แนวทางการปฏิบัติหลังจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนวทางการปฏิบัติหลังจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม





  1. มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี โดยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของยอดขาย ตั้งแต่วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ (ถ้ามี)
  2. จัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ทุก ๆ 3 วัน
  3. จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ (สต๊อก) ทุก ๆ 3 วัน ที่มีการเคลื่อนไหวสำหรับบุคคลธรรมดาจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี
  4. ยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือบริการเกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม
  5. ไม่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน กรมสรรพากรมีสิทธิพิจารณาดำเนินการเพิกถอนออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

    หมายเหตุ ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ดังนี้

  1. กรณีบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนที่กรมปกครองออกให้

  2. กรณีนิติบุคคล ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้

  3. กรณีที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนที่กรมการปกครองออกให้ หรือไม่มีเลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้ ให้ดำเนินการขอหมายเลขกับกรมสรรพากร เช่น กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง คนต่างด้าว ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล กิจการร่วมค้า มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น

 
สิทธิที่ได้รับจากการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


  1. สามารถนำภาษีที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการมาขอหักภาษีขายได้
  2. นำใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปแสดง เพื่อติดต่อขอรับประมูลงานกับส่วนราชการต่างๆ ได้

 

ผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประกอบการโดยไม่ได้จดทะเบียน ฯ ต้องรับผิดชอบดังนี้

  1. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณฯจากยอดขายสินค้าหรือบริการตั้งแต่วันที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียน
  3. ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ (ภาษีซื้อ)ในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนฯ ไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย (ภาษีขาย)
  4. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในแต่ละเดือนภาษี
  5. เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ

 

นิติบุคคลใดที่ไม่ยื่นรายการและชำระภาษี ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ต้องรับผิดชอบดังนี้


  1. ความรับผิดชอบทางแพ่ง

      ก. ต้องเสียเบี้ยปรับกรณีที่ยื่นรายการไม่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปจะต้องคำนวณและชำระเบี้ยปรับอีก 1 หรือ 2เท่าของเงินภาษีตามแต่กรณี และ

      ข. ต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียโดยไม่รวมเบี้ยปรับ


  1. ความรับผิดทางอาญา

      ก. แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

      ข. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

          กรณีแสดงได้ว่าไม่ยื่นแบบด้วยเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท

          กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ


ที่มา : www.pattanakit.net

 1916
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์