ความหมายของอัตราภาษีศุลกากร และประวัติความเป็นมา

ความหมายของอัตราภาษีศุลกากร และประวัติความเป็นมา





         ภาษีศุลกากร เป็นภาษีชนิดที่เรียกว่า กำแพงภาษี  คือเป็นภาษีที่ไม่เกิดจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่เป็นภาษีที่สกัดกั้นการไหลบ่าของสินค้าจากต่างประเทศที่จะเข้ามาภายในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตภายในประเทศไม่ให้ถูกโจมตีจากสินค้าต่างประเทศที่มีคุณภาพดีกว่าแต่ราคาย่อมเยากว่า

 

         ฉะนั้น ภาษีศุลกากรของสินค้าแต่ละตัวจึงมีอัตราที่ไม่เท่ากัน สินค้าใดที่สามารถผลิตภายในประเทศได้อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าชนิดนั้นจะสูง เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะให้ใครนำสินค้าชนิดนั้นมาขายแข่งกับเรา เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น ที่จะมีอัตราอากรตั้งแต่ 30-60% ส่วนสินค้าที่เราผลิตเองไมได้ หรือต้องการนำเข้า จะมีอัตราที่ต่ำ เช่น เครื่องจักรโรงงาน เป็นต้นมีอัตราอากรตั้งแต่ 0-5% นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ภาษีศุลกากรแตกต่างกันไป เช่น สินค้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หรือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ อัตรา 0% สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง อัตรา 40% สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น ไม้ หนังดิบ ไหม สารเคมี อัตรา 0-5%

         กิจการภาษี หรือการศุลกากร มีมาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย เรียกว่า จกอบ โดยที่สมัยสุโขทัยนั้น การค้าขายเป็นปัจจัยสร้างความมั่งคั่งของรัฐ และในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็มีประกาศยกเว้นภาษีแก่ผู้มาค้าขายดังความในศิลาจารึก ว่า “เมืองสุโขทัยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พ่อเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทางเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างบค้า ใคร่จักใคร่ค้าม้าค้า”

         ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านตรวจเก็บภาษีขาเข้าขาออกเฉพาะ เรียกว่า พระคลังสินค้า มีสถานที่สำหรับการภาษี เรียกว่า ขนอน เก็บภาษีจากระวางบรรทุกสินค้าสินค้าและจากสินค้าครั้นสมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองอยู่ในยุคสงคราม การค้าขายระหว่างประเทศไม่ปรากฏหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์มากนัก

         ล่วงถึงยุครัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 มีการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า ระบบเจ้าภาษีนายอากร ส่วนสถานที่เก็บภาษี เรียกว่า โรงภาษี ต่อมา ในรัชกาลที่ 4 การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาริ่งที่เกี่ยวกับศุลกากร คือ ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมระบุในท้ายสัญญาเป็นชนิดไป ทั้งมีการตั้งโรงภาษี เรียกว่า ศุลกสถานขึ้นเป็นที่ทำการศุลกากร

         ยุคใหม่ของศุลกากรไทยเริ่มใน พ.ศ.2417 เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน งานศุลกากรซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกเป็นรายได้ของรัฐ อยู่ในความควบคุมดูแลของหอรัษฎากรพิพัฒน์ ส่งงานศุลกากรเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและสถานการณ์โลก มีการสร้างอาคารเจริญเติบโตขึ้นอย่างเหมาะสมขึ้นแทนที่ทำการศุลกากรที่เรียกว่า ศุลกากรสถานเดิมในปี 2497คือสถานที่ตั้งกรม ศุลกากรคลองเตยในปัจจุบัน

         ช่วงเวลาที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกรมศุลกากรมีภารกิจหลัก คือจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และดูแล ป้องกัน ปราบปรามการลับลอบหนีศุลกากรเพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากรเป็นไปตามเป้าหมายและเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่สุจริต


ที่มา : www.pattanakit.ne

 

 5855
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์