เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มใช้งาน e-Withholding Tax

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มใช้งาน e-Withholding Tax





e-Withholding Tax

e-Withholding Tax หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรมีธนาคารเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่นำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องเขียนใบหักภาษี ณ ที่จ่ายและไม่ต้องออกหนังสือรับรองฯ

e-Withholding Tax นำส่งภาษีต่อไปนี้

  1. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 ได้

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส (ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (แบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ (แบบ ภ.ง.ด.53)

2.ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา  70  กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ (แบบ ภ.ง.ด.54)

3.ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา  70  ทวิ กรณีการจำหน่ายเงินกำไร (แบบ ภ.ง.ด.54)

4.ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/5 ทวิ กรณีขายทอดตลาด (ภ.พ.36)

5.ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 ทวิ กรณีจ่ายค่าสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการต่างประเทศ (แบบ ภ.พ.36)

วิธีการนำส่ง e-Withholding Tax

1.เลือกใช้ธนาคารที่ได้มีการยื่นคำขอต่อกรมสรรพากรให้เป็นผู้มีหน้าที่รับเงินภาษี (รอหลักเกณฑ์ประกาศ)

2.ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีต้องแจ้งรายการที่เกี่ยวข้อต่อธนาคาร

3.ธนาคารต้องออกหลักฐานให้แก่ผู้นำส่งเงินภาษีและผู้รับเงิน (รอหลักเกณฑ์ประกาศ)

4.ธนาคารนำส่งเงินภาษีที่ได้รับไปยังกรมสรรพากร ไม่เกิน  4 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับเงิน



ที่มา : www.dharmniti.co.th

 

 2311
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์