แนวโน้มผู้บริโภคลดความวางใจและเชื่อใจจากโฆษณา

แนวโน้มผู้บริโภคลดความวางใจและเชื่อใจจากโฆษณา

เปิดแผนฝ่าวิกฤติป้องกันไวรัส COVID-19 ทางรอดของผู้ประกอบการ

ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศรวมถึงในประเทศไทยเอง ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่ต้องคอยเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทางด้านภาคธุรกิจก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมการส่งออก การท่องเที่ยวและงานบริการ ที่ต้องสูญเสียรายได้มหาศาลจากนักท่องเที่ยว ในส่วนของผู้ประกอบการก็ควรมีมาตรการด้านสาธารณสุขพื้นฐานบริการให้กับพนักงาน โดยยึดหลักแผนความต่อเนื่องของธุรกิจในภาวะฉุกเฉิน (Business Continuity Plan – BCP) ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาปรับใช้เพื่อป้องกันไวรัส COVID-19 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค และช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติเช่นนี้



การบริหารบุคลากร

  1. กำหนดทีมเฉพาะกิจเพื่อติดตามปัญหาและป้องกันไวรัส COVID-19  มีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ประสานงานกับองค์กรภายนอก เช่น โรงพยาบาล สำนักงานประกันสังคม และองค์กรสาธารณสุข เพื่อรายงานสถานการณ์สำคัญให้พนักงานในองค์กรทราบ
  2. ขอความร่วมมือจากพนักงานงดการเดินทางไปยังประเทศที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นประเทศกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี เกาหลีใต้ อิหร่าน ฝรั่งเศส เยอรมณี สเปน อังกฤษ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสหรัฐอเมริกา หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ต้องแจ้งเหตุผลในการเดินทางและต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
  3. พนักงานที่แจ้งข้อมูลการเดินทางเท็จเท่ากับทำผิดวินัยของบริษัท
  4. กรณีที่พนักงานเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง บริษัทอนุญาตให้หยุดพักงานเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน นับจากวันที่กลับมาถึงประเทศไทย และพนักงานต้องรายงานผลสุขภาพให้บริษัททราบทุกวันจนกระทั่งครบ 14 วัน
  5. ในระยะเวลา 14 วัน หากพนักงานมีไข้สูงเกิน 5 องศา ให้รีบแจ้งหัวหน้างานทันทีและพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุด
  6. หากพนักงานพักอาศัยกับบุคคลในครอบครัวที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัส COVID-19 พนักงานต้องแจ้งให้หัวหน้าทราบ ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วันเพื่อสังเกตอาการ และต้องรายงานผลสุขภาพให้บริษัททราบทุกวันจนกระทั่งครบ 14 วันเช่นเดียวกัน

การบริหารงาน

  1. พนักงานฝ่ายบริการลูกค้าต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งในเวลาทำงาน
  2. บริษัทอนุญาตให้พนักงานกลุ่มเสี่ยงติดไวรัส สามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from home) เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส
  3. พนักงานที่ทางบริษัทอนุญาตให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) ต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จตามกำหนดเวลา โดยแจ้งความคืบหน้าการทำงานให้หัวหน้าทราบเป็นระยะ
  4. บริษัทอาจปรับเวลาเข้างานและเลิกงานตามความเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพแวดล้อมที่แออัด สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไวรัส
  5. เลี่ยงการประชุมกับบริษัทคู่ค้าและงดจัดกิจกรรมนอกสถานที่ซึ่งมีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก หากจำเป็นต้องประชุมงาน ควรเลือกใช้วิธีประชุมทางไกลผ่านช่องทางอื่นแทน เช่น video conference หรือ video call 
  6. ลดค่าใช้จ่ายของบริษัทที่ไม่จำเป็นลง เช่น กิจกรรมสังสรรค์นอกสถานที่ เพื่อนำเงินมาสนับสนุนมาตรการป้องกันไวรัส COVID-19 ภายในบริษัท

สวัสดิการพนักงาน

  1. จัดให้มีจุดคัดกรองพนักงานและบุคคลภายนอกที่มาติดต่องาน เพื่อตรวจวัดอุณภูมิร่างกายก่อนเข้าอาคาร รวมถึงบุคคลภายนอกที่เดินทางมาติดต่องานกับบริษัทต้องได้รับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายที่จุดแลกบัตร หากมีอุณหภูมิเกิน 5 องศา จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาภายในสำนักงาน
  2. ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคให้ทั่วอาคาร ทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในสำนักงาน และมีบริการเจลล้างมือให้พนักงานทำความสะอาดอยู่บริเวณประตูทางเข้าอาคาร หรือหน้าลิฟต์
  3. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดทุกๆ 1 ชั่วโมง ที่ประตูทางเข้า-ออก แผงปุ่มลิฟต์ ราวบันได และบริเวณมือจับประตู เป็นต้น
  4. จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดูแลสุขอนามัยให้กับพนักงาน เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศภายในอาคาร
  5. พนักงานที่ติดเชื้อ COVID-19 สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ และบริษัทยินดีจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน
  6. อาจมีการจัดทำประกันชีวิตป้องกันไวรัส COVID-19 ให้กับพนักงาน เพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วย
  7. อบรมให้ความรู้พนักงานเพื่อรับมือไวรัส COVID-19 อย่างถูกต้อง โดยวิทยากรควรเป็นทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรจากกระทรวงสาธารณสุข
  8. เปิดใช้พื้นที่ส่วนรวมของออฟฟิศให้เป็นเวลา หรืออาจงดใช้สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19

แนวทางการป้องกันไวรัส COVID-19 และการปรับตัวของบริษัทอาจจะดูเข้มงวดไปบ้าง แต่ก็เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจ ลักษณะการทำงาน และรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน จัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร (BCP) ให้มีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและพนักงานทุกคน นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเป็นการเตรียมพร้อมรับมือโรคระบาดใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

 ที่มา : https://th.jobsdb.com/

 870
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์