คือ รายงานที่กำหนดให้ผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ในการบันทึกจำนวนภาษีขายของกิจการที่ได้เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือนภาษี โดยดูจากสำเนาใบกำกับภาษีขายที่ออกให้ลูกค้า ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้า และจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี จะต้องปรับปรุงรายการต่างๆ เป็นรายงานภาษีขายได้ โดยเพิ่มช่องรายการ “ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” และ “จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” ลงในบัญชีนั้นก็ได้ ตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 104)
รายการสำคัญที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน จะต้องนำไปลงจำนวนภาษีขายในรายงานภาษีขายทำให้ยอดภาษีขายในเดือนที่มีรายการเกิดขึ้นเพิ่มสูงขึ้นหรือลดต่ำลง ได้แก่ ภาษีขายอันเนื่องมาจาก
1. การขายสินค้าหรือการให้บริการในประเทศไทย
2. การให้เช่าซื้อ
3. การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ “ฝากขาย”
4. การนำสินค้าหรือบริการไปใช้เพื่อการอื่นใดที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. หนี้สูญที่ได้รับกลับคืน
6. มีสินค้าขากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
7. มีสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่เลิกกิจการแต่ไม่รวมถึงสินค้าคงเหลือ และทรัพย์สินของผู้ประกอบกิจการซึ่งได้รวมกิจการเข้าด้วยกันหรือได้โอนกิจการทั้งหมดให้กัน
8. การรับคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามการเสนอขาย
9. การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการซึ่งผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน
10. หนี้สูญ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
โปรแกรมบัญชีออนไลน์ Prosoft ibiz มี Feature ที่รองรับการดูรายงานภาษีขายที่ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบรายการภาษีที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการรวบรวบข้อมูล โดยมีวิธีการเรียกดูรายงาน 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 หลังจากที่ผู้ใช้บันทึกรายการขายสินค้าเรียบร้อยแล้ว และต้องการเรียกดูรายงานภาษีขาย สามารถเรียกดูได้ที่ “Report” > “Tax Report” ดังรูป
ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงเมนู Tax Report ทั้งหมด จากนั้นให้ผู้ใช้ทำการเลือกเมนู “รายงานภาษีขาย” ดังรูป
ขั้นตอนที่ 3 ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามที่ต้องการ โดยมี Picker ให้เลือกการแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้
• แสดงรายงาน คือ การเรียกแสดงรายงานภาษีขาย มีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ รายงานภาษีขาย, รายงานภาษีขายมียอดรวม และรายงานภาษีขายยื่นเพิ่มเติม
• ปีภาษี, เดือน คือ รอบระยะเวลาที่ใช้สำหรับคำนวณภาษี
• งวดบัญชี คือ การที่กิจการจะทำการบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาหรือรอบระยะเวลาที่กำหนด
• เรียงข้อมูลตาม คือ การเรียงข้อมูลที่ต้องการแสดง มีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ วันที่ใบกำกับ, เลขที่ใบกำกับภาษี และเลขที่เอกสาร
• รูปแบบค่าลบ คือ การแสดงข้อมูลในรูปแบบค่าลบ (-) มีทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ เครื่องหมาย – และวงเล็บ ()
• วันที่เอกสาร คือ การเรียกดูรายงานภาษีขายตามการบันทึกวันที่เอกสาร
• เลขที่เอกสาร คือ การเรียกดูรายงานภาษีขายตามการบันทึกเลขที่เอกสาร
• เลขที่ใบกำกับภาษี คือ การเรียกดูรายงานภาษีขายตามการบันทึกเลขที่ใบกำกับภาษี
• รหัสภาษี คือ การเรียกดูรายงานภาษีขายตามการบันทึกรหัสภาษี